หน่อไม้นอกฤดู…ราคางาม
”ไผ่” นับวันกระแสในสังคมบ้านเราเริ่มตื่นตัวให้ความสนใจ และเห็นความสำคัญมากขึ้น ซึ่งแต่ก่อน เราจะพบเห็นต้นไผ่มากมายหลากหลายสายพันธุ์ จึงดูเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ในปัจจุบันนี้ นับวันจะเห็นสภาพป่าไม้ถูกทำลาย แปรเปลี่ยนเป็นไร่ข้าวโพด พืชไร่ต่าง ๆ สวนยาง เป็นต้น และผู้คนสมัยใหม่หรือเด็กรุ่นใหม่ แทบจะไม่รู้จักชื่อพันธุ์ไผ่เลย ซึ่งในขณะที่ป่าไม้ถูกทำลาย ก็มีการนำไม้ไผ่มาใช้ทดแทน ซึ่งทุกส่วนของลำจนถึงราก นำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านอุปโภค บริโภค ใช้สร้างที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ จึงจัดได้ว่าไผ่ เป็นไม้อเนกประสงค์สารพัดประโยชน์ ดังนั้น เราควรมาช่วยกันปลูกไผ่เพื่อใช้ประโยชน์ เพราะไผ่เป็นพืชโตเร็ว ใช้เวลา 1-2 ปี ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทำได้ไม่ยาก การดูแลจัดการที่ดี จะได้ผลผลิตทั้งหน่อและลำ เพราะฉะนั้น การปลูกไผ่จึงให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
การปลูกไผ่เพื่อผลิตหน่อไม้นอกฤดู เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าหน่อไม้ที่วางขายตามท้องตลาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 40-80 บาท นับว่าเป็นราคาที่ทำให้ผู้คนสนใจที่จะปลูกมากขึ้น แต่การที่จะปลูกเพื่อผลิตหน่อไม้นอกฤดูให้ได้ผลนั้น ก็มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งคุณสมชาย ศิริมาตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดน่าน ( พืชสวน ) ได้ให้รายละเอียด โดยรวบรวมจากข้อมูลต่างๆและจากประสบการณ์ เพื่อให้คนที่สนใจได้รับทราบและประกอบการตัดสินใจปลูก ดังนี้
1. ตลาด เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ว่าเราผลิตออกมาแล้ว จะจำหน่ายในรูปแบบใด เช่น ขายปลีกในชุมชน ตลาดสดในเมือง หรือ ส่งพ่อค้าคนกลาง ซึ่งตลาดเป้าหมายก็เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปลูก จำนวนและ ชนิดพันธุ์ไผ่ ข้อดีของการผลิตหน่อไม้นอกฤดู คือ ส่วนใหญ่ชาวสวนเป็นผู้กำหนดราคาเอง ซึ่งสาเหตุก็เพราะว่าผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
2. พื้นที่ปลูก การทำให้หน่อไม้ออกก่อนฤดู สิ่งสำคัญจะต้อง มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี หรือตลอดช่วงฤดูแล้งที่ทำหน่อออกนอกฤดู ใกล้แหล่งที่อยู่อาศัย การคมนาคมสะดวก รวมถึงขนาดพื้นที่ปลูก ที่สามารถดูแลจัดการได้ รวมถึงปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
3. ชนิดพันธุ์ไผ่ เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและทำกำไรสูงสุด เราควรเลือกพันธุ์ไผ่ที่ตอบสนองต่อน้ำและปุ๋ยได้ดี เป็นที่ยอมรับของตลาด และให้ผลผลิตเร็ว เช่น
3.1 ไผ่เป๊าะ ให้ผลผลิตเร็ว ให้หน่อดกหลังจากให้น้ำและปุ๋ยประมาณ 40 วัน ก็จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้
3.2 ไผ่ซางหวาน เนื้อละเอียด น้ำหนักดี รสชาติหวานกรอบ ลำไม้ขนาดปานกลาง ตรงเปลา เนื้อหนา แข็ง ใกล้เคียงกับซางหม่น มีตลาดรับซื้อลำไม้ไปแปรรูปเป็นกระบอกเชิงเทียนไม้ไผ่และเชิงอุตสาหกรรม
3.3 ไผ่หม่าจู เนื้อขาวละเอียด น้ำหนักดี กาบหน่อไม่มีขน รสชาติดี สามารถนำไปประกอบอาหารแปรรูปได้หลากหลาย เช่น แกงหน่อไม้ ผัดกุ้ง ต้มจืด หน่อไม้ดอง หน่อไม้อบแห้ง
3.4 ไผ่เลี้ยง บงหวาน ตงเขียว ซางหม่น
4. ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงมูลค่าราคา ควรเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ซึ่งจะได้ราคาสูงสุดถึง 80 บาท / กก. ในช่วงแรก ๆ และค่อย ๆ ลดลงเหลือ 20 บาท/กก. เพราะฉะนั้น ควรให้น้ำและปุ๋ยในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ผลผลิตไผ่เปาะ จะออกประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าเป็นไผ่ซางหวานและหม่าจูจะออกประมาณเดือนมีนาคม เป็นต้นไป
5. การทำคุณภาพ
5.1 การทำหน่อหมก โดยการนำเศษวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว เปลือกถั่ว ซังข้างโพด หรือที่นิยม คือ แกลบเผาที่เปียกชุ่มน้ำ บรรจุในถุงดำให้ขนาดถุงใหญ่กว่าหน่อไม้ นำมา ครอบหน่อที่กำลังแทงโผล่ผิวดิน พอหน่อไม้โตได้ขนาด ก็ตัดง่าย และจะได้หน่อที่ อวบ ขาว สะอาด และรสชาติดี
5.2 การตัดหน่อควรตัดแต่เช้ามืด จะได้หน่อที่สด น้ำหนักและรสชาติดี ส่งตลาด
5.3 ไม่ตัดหน่อที่อ่อนหรือแก่จนเกินไป
5.4 หลังจากตัดหน่อแล้ว ควรทำความสะอาดตัดแต่งดูให้สวยงาม
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม การให้น้ำ ควรให้มาก ๆ ในครั้งแรก และความถี่ของการให้น้ำ ให้ดูความชื้นในแปลงอาจให้ทุกวัน หรือเว้นวัน การให้ปุ๋ยเคมี ควรเน้นสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 25-7-7 ให้ใส่ควบคู่กับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เช่น กอไผ่ ปีที่ 2 อาจใส่ปุ๋ยเคมี 1 กก./กอ แล้วใส่ปุ๋ยคอก 3-4 บุ้งกี๋ โดยใส่รอบ ๆ กอ ห่างจากกอ 30-50 ซม. แล้วให้น้ำตาม ควรคลุมทับด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง เปลือกถั่ว ซังข้าวโพด เพื่อเก็บความชื้น การกำจัดวัชพืชจะหนักในปีแรก พอต้นไผ่แตกกอแล้ว ในปีที่ 2 จะไม่มีปัญหาในเรื่องวัชพืช
การไว้หน่อหรือลำไผ่เพื่อเป็นต้นแม่ ในปีต่อไปจะเลือกไว้หน่อที่อวบ สมบูรณ์ และเป็นหน่อที่แทงออกจากใต้ดิน ออกมาทางนอกกอ และไว้เพียง 5-8 หน่อ/กอ เริ่มไว้ในเดือน มิ.ย.-ก.ค. ถ้ามีหน่อที่ออกมาในฤดูและไม่ต้องการไว้ลำต่อไป ให้เก็บเกี่ยวมาแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้อบแห้ง หรือหน่ออัดปี๊บได้
การตัดแต่ง ควรตัดแต่งกิ่ง ลำต้นที่เป็นโรค ลำไม้แก่ 2 ปี ขึ้นไป กิ่งแขนงด้านล่างออกให้เสร็จภายในเดือน ต.ค.-พ.ย. การให้ผลผลิต1. ไผ่เป๊าะ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 5 กก./กอ ช่วงการตัดเฉลี่ย 3 วัน/ครั้ง (ปีที่ 2 ช่วงเดือน ก.พ.-มิ.ย.) 2.ไผ่ซางหวานให้ผลผลิตเฉลี่ย 8 กก./กอ ช่วงการตัดเฉลี่ย 4 วัน/ครั้ง (ปีที่ 2 ช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.) ท่านเกษตรกรและผู้ที่สนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตหน่อไม้นอกฤดู ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดน่าน ( พืชสวน )
การปลูกไผ่เพื่อผลิตหน่อไม้นอกฤดู เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าหน่อไม้ที่วางขายตามท้องตลาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 40-80 บาท นับว่าเป็นราคาที่ทำให้ผู้คนสนใจที่จะปลูกมากขึ้น แต่การที่จะปลูกเพื่อผลิตหน่อไม้นอกฤดูให้ได้ผลนั้น ก็มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งคุณสมชาย ศิริมาตร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดน่าน ( พืชสวน ) ได้ให้รายละเอียด โดยรวบรวมจากข้อมูลต่างๆและจากประสบการณ์ เพื่อให้คนที่สนใจได้รับทราบและประกอบการตัดสินใจปลูก ดังนี้
1. ตลาด เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ว่าเราผลิตออกมาแล้ว จะจำหน่ายในรูปแบบใด เช่น ขายปลีกในชุมชน ตลาดสดในเมือง หรือ ส่งพ่อค้าคนกลาง ซึ่งตลาดเป้าหมายก็เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปลูก จำนวนและ ชนิดพันธุ์ไผ่ ข้อดีของการผลิตหน่อไม้นอกฤดู คือ ส่วนใหญ่ชาวสวนเป็นผู้กำหนดราคาเอง ซึ่งสาเหตุก็เพราะว่าผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
2. พื้นที่ปลูก การทำให้หน่อไม้ออกก่อนฤดู สิ่งสำคัญจะต้อง มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี หรือตลอดช่วงฤดูแล้งที่ทำหน่อออกนอกฤดู ใกล้แหล่งที่อยู่อาศัย การคมนาคมสะดวก รวมถึงขนาดพื้นที่ปลูก ที่สามารถดูแลจัดการได้ รวมถึงปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
3. ชนิดพันธุ์ไผ่ เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและทำกำไรสูงสุด เราควรเลือกพันธุ์ไผ่ที่ตอบสนองต่อน้ำและปุ๋ยได้ดี เป็นที่ยอมรับของตลาด และให้ผลผลิตเร็ว เช่น
3.1 ไผ่เป๊าะ ให้ผลผลิตเร็ว ให้หน่อดกหลังจากให้น้ำและปุ๋ยประมาณ 40 วัน ก็จะให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้
3.2 ไผ่ซางหวาน เนื้อละเอียด น้ำหนักดี รสชาติหวานกรอบ ลำไม้ขนาดปานกลาง ตรงเปลา เนื้อหนา แข็ง ใกล้เคียงกับซางหม่น มีตลาดรับซื้อลำไม้ไปแปรรูปเป็นกระบอกเชิงเทียนไม้ไผ่และเชิงอุตสาหกรรม
3.3 ไผ่หม่าจู เนื้อขาวละเอียด น้ำหนักดี กาบหน่อไม่มีขน รสชาติดี สามารถนำไปประกอบอาหารแปรรูปได้หลากหลาย เช่น แกงหน่อไม้ ผัดกุ้ง ต้มจืด หน่อไม้ดอง หน่อไม้อบแห้ง
3.4 ไผ่เลี้ยง บงหวาน ตงเขียว ซางหม่น
4. ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงมูลค่าราคา ควรเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม ซึ่งจะได้ราคาสูงสุดถึง 80 บาท / กก. ในช่วงแรก ๆ และค่อย ๆ ลดลงเหลือ 20 บาท/กก. เพราะฉะนั้น ควรให้น้ำและปุ๋ยในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ผลผลิตไผ่เปาะ จะออกประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าเป็นไผ่ซางหวานและหม่าจูจะออกประมาณเดือนมีนาคม เป็นต้นไป
5. การทำคุณภาพ
5.1 การทำหน่อหมก โดยการนำเศษวัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว เปลือกถั่ว ซังข้างโพด หรือที่นิยม คือ แกลบเผาที่เปียกชุ่มน้ำ บรรจุในถุงดำให้ขนาดถุงใหญ่กว่าหน่อไม้ นำมา ครอบหน่อที่กำลังแทงโผล่ผิวดิน พอหน่อไม้โตได้ขนาด ก็ตัดง่าย และจะได้หน่อที่ อวบ ขาว สะอาด และรสชาติดี
5.2 การตัดหน่อควรตัดแต่เช้ามืด จะได้หน่อที่สด น้ำหนักและรสชาติดี ส่งตลาด
5.3 ไม่ตัดหน่อที่อ่อนหรือแก่จนเกินไป
5.4 หลังจากตัดหน่อแล้ว ควรทำความสะอาดตัดแต่งดูให้สวยงาม
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคม การให้น้ำ ควรให้มาก ๆ ในครั้งแรก และความถี่ของการให้น้ำ ให้ดูความชื้นในแปลงอาจให้ทุกวัน หรือเว้นวัน การให้ปุ๋ยเคมี ควรเน้นสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 25-7-7 ให้ใส่ควบคู่กับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เช่น กอไผ่ ปีที่ 2 อาจใส่ปุ๋ยเคมี 1 กก./กอ แล้วใส่ปุ๋ยคอก 3-4 บุ้งกี๋ โดยใส่รอบ ๆ กอ ห่างจากกอ 30-50 ซม. แล้วให้น้ำตาม ควรคลุมทับด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง เปลือกถั่ว ซังข้าวโพด เพื่อเก็บความชื้น การกำจัดวัชพืชจะหนักในปีแรก พอต้นไผ่แตกกอแล้ว ในปีที่ 2 จะไม่มีปัญหาในเรื่องวัชพืช
การไว้หน่อหรือลำไผ่เพื่อเป็นต้นแม่ ในปีต่อไปจะเลือกไว้หน่อที่อวบ สมบูรณ์ และเป็นหน่อที่แทงออกจากใต้ดิน ออกมาทางนอกกอ และไว้เพียง 5-8 หน่อ/กอ เริ่มไว้ในเดือน มิ.ย.-ก.ค. ถ้ามีหน่อที่ออกมาในฤดูและไม่ต้องการไว้ลำต่อไป ให้เก็บเกี่ยวมาแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้อบแห้ง หรือหน่ออัดปี๊บได้
การตัดแต่ง ควรตัดแต่งกิ่ง ลำต้นที่เป็นโรค ลำไม้แก่ 2 ปี ขึ้นไป กิ่งแขนงด้านล่างออกให้เสร็จภายในเดือน ต.ค.-พ.ย. การให้ผลผลิต1. ไผ่เป๊าะ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 5 กก./กอ ช่วงการตัดเฉลี่ย 3 วัน/ครั้ง (ปีที่ 2 ช่วงเดือน ก.พ.-มิ.ย.) 2.ไผ่ซางหวานให้ผลผลิตเฉลี่ย 8 กก./กอ ช่วงการตัดเฉลี่ย 4 วัน/ครั้ง (ปีที่ 2 ช่วงเดือน มี.ค.-มิ.ย.) ท่านเกษตรกรและผู้ที่สนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตหน่อไม้นอกฤดู ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดน่าน ( พืชสวน )
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น