Ads 468x60px

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการสร้างความร่วมมือไตรภาคีไผ่จังหวัดลำพูน ความรู้เกี่ยวกับไผ่

http://phai-chang-mon.blogspot.com/

โครงการสร้างความร่วมมือไตรภาคีไผ่จังหวัดลำพูน

 

ไผ่ซางหม่น


เป็นไม้ไผ่ที่พบในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่และน่าน


เป็นไผ่สายพันธุ์พื้นเมืองที่สามารถให้ผลผลิตได้ทั้งหน่อและลำไผ่


ใช้เวลาในการปลูกเพียง 7 ถึง 8 เดือน


มีลักษณะเด่นคือ หน่อมีขนาดใหญ่


รสชาติดีเมื่อนำมาประกอบอาหาร


และยังแปรรูปได้เช่น การทำหน่อไม้อัดปีบ หน่อไม้ดอง และอบแห้ง


หากมีการจัดการที่ดี ใส่ปุ๋ย ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ออกหน่อนอกฤดูได้


ซางหม่น มีลำขนาดใหญ่ ตรง มีความยาวประมาณ 10-15 เมตร แข็งแรง เหนียว ไม่แตกง่าย


เนื้อไม้หนา 1 ถึง 2.5 เซนติเมตร


ไม้ลำแก่ แมลงหรือมอด จะไม่เข้าทำลายเหมือนไม้ไผ่ชนิดอื่น


ลำไผ่ซางหม่น จำหน่ายได้ราคาสูง 80 ถึง 150 บาทต่อลำ


นำไปใช้ในการจักสาร


ทำเฟอร์นิเจอร์


ทำเครื่องเรือนหรือบ้านพัก


ทำไม้ค้ำและบันไดสำหรับเก็บผลไม้


ในอดีต ไม้ไผ่ซางหม่นนิยมปลูกตามหัวไร่ท้ายสวน


เพื่อนำหน่อมาบริโภค


และนำไม้มาเป็นไม้ใช้สอยในบ้าน ทำเครื่องเรือน ทำรั่วเขตแนวของสวนในสมัยนั้น


ปัจจุบัน เมื่อความเจริญเข้ามาถึง


เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร


และมีการนำพืชเศรษฐกิจอื่นๆ มาปลูกในพื้นที่


มีการขยายสวนผลไม้ เช่น ลำไย มะม่วง


ไผ่ซางหม่น จึงถูกทำลายไปทีละกอ สองกอ และกำลังจะหมดไป


โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์และคุณค่า ของไผ่ซางหม่น ดังเช่นอดีต


ดังนั้น ทางสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมจังหวัดลำพูน


ได้เล็งเห็นความสำคัญของไผ่ซางหม่น


จึงได้ส่งเสริมให้ปลูกในที่ดินของเกษตรกร


เพื่อไว้ใช้สอยในครัวเรือนและเสริมรายได้


อีกทั้งเป็นการช่วยกันสร้างป่า ลดสภาวะโลกร้อน


ช่วยยึดหน้าดิน ที่ลาดชัน ป้องกันการซะล้างหน้าดินของน้ำฝน




ในเชิงเศรษฐกิจและการตลาด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิริวัฒนาวานิช

ได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูก


การฝึกอมรมด้านงานจักสาน


การแปรรูปหน่อไม้


ทำเฟอร์นิเจอร์


และรับซื้อผลิตภัณฑ์


ตลอดจนการรับซื้อหน่อไม้สด


ลำไผ่


เพื่อนำส่งเข้าโรงงานแปรรูปในราคาประกัน


ในโครงการ ไตรภาคี กับกลุ่มเกษตรกรที่มีที่ทำกินในเขตปฏิรูปดังกล่าว






















ในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดศิริวัฒนาวานิช ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง
" พลิกเศรษฐกิจชาวบ้าน ด้วยงานจักสานไทย จากแหล่งปลูกไผ่ที่ยั่งยืน "

0 ความคิดเห็น: