Ads 468x60px

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หมู่บ้านพลัม ไทย

หมู่บ้านพลัม ไทย
http://www.thaiplumvillage.org/plum_practice_index.html


ภาวนาด้วยหัวใจ



บทนำ
     สติเป็นพลังแห่งความตระหนักรู้ และรู้สึกตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ เป็นการเฝ้ามองอย่าง ลึกซึ้ง ในทุกขณะของชีวิตประจำวัน การดำรงสติเป็นการดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริง ดำรงอยู่กับ ปัจจุบันขณะ และกับทุกสิ่งที่รายล้อมเรา รวมทั้งกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราสามารถโน้มนำกาย และจิตให้ผสานสอดคล้อง ในขณะที่เราล้างจาน ขับรถ หรืออาบน้ำยามเช้า
     ในหมู่บ้านพลัม เราทำกิจวัตรต่างๆ เหมือนกับที่เราอยู่กับบ้าน เช่น เดิน นั่ง ทำงาน รับประทาน อาหาร เป็นต้น แต่ที่เราเรียนรู้ที่จะทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยลมหายใจแห่งสติ ด้วยการตระหนักรู้ ในทุกขณะ เราฝึกสติทุกๆ ขณะตลอดทั้งวัน และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติสมาธิภาวนาเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วย
     ในการฝึกปฏิบัติร่วมกันในสังฆะเป็นชุมชน การฝึกสติของเรานำมาซึ่งความเบิกบาน ผ่อนคลาย และมั่นคง เราเป็นระฆังแห่งสติแก่กันและกัน ช่วยเหลือและตักเตือนซึ่งกันและกัน ด้วยความ ช่วยเหลือของชุมชน ตลอดช่วงการฝึกปฏิบัติ เราสามารถฝึกบ่มเพาะความสงบและเบิกบาน จากภายในและรอบตัวเรา ประดุจของขวัญสำหรับทุกๆ คนที่เรารักและห่วงใย เราสามารถบ่มเพาะ ความมั่นคงและอิสรภาพ มั่นคงในความปรารถนาอันยิ่ง และเป็นอิสระจากความกลัว ความเข้าใจผิด และความทุกข์ทรมานทั้งปวง
     เพื่อนที่รักทั้งหลาย ขอให้เรามีความสามารถและชาญฉลาดในการฝึกปฏิบัติ เข้าสู่ทุกย่างก้าว ของการปฏิบัติด้วยความกระหายใคร่รู้และเต็มไปด้วยสัมผัสแห่งการแสวงหา ให้เราฝึกปฏิบัติ ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่เพียงแต่แบบแผนและสิ่งที่ปรากฏเห็น ขอให้มีความเบิกบานในการฝึก ปฏิบัติ ด้วยความผ่อนคลายและอ่อนโยน พร้อมใจที่เปิดกว้าง
     เนื้อหาหลัก "ภาวนา ด้วยหัวใจ"

เชิญระฆังแห่งสติ

เดินเจริญสติ

นั่งสมาธิ

หนังสือ พระอาจารย์พรหม วังโส

http://www.dhamaforlife.com/audio/BeHappy/index_.htm


  
 คลิกอ่าน   
    
คลิกฟังเสียง
 
001 คำปรารภในการทำซีดี
002 คำนำ
003 จากผู้แปล
004 คำอุทิศกุศล

005
บทที่ 1 ความสมบูรณ์แบบและความรู้สึกผิด ก้อนอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อน
006 สวนเซน
007 เท่าที่ทำแล้วก็เสร็จแล้ว
008 ทำสวนทวนทุกข์
009 ความรู้สึกผิดและการให้อภัย
010 ความรู้สึกผิดของอาชญากร
011 เด็กนักเรียนห้อง ข
012 เด็กน้อยในซุปเปอร์มาเก็ต
013 ผิดกันถ้วนหน้า
014 จงปล่อยวางความรู้สึกผิดตลอดกาล

015
บทที่ 2 ความรักและการอุทิศตน ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข
016 เปิดประตูใจไว้
017 การอุทิศตน
018 ไก่กับเป็ด
019 ขอบคุณข้อบกพร่อง
020 เรื่องรักๆ ใคร่ ๆ
021 รักแท้

022
บทที่ 3 ความหวาดกลัวและความเจ็บปวด อิสระจากความหวาดกลัว
023 ทำนายทายทักอนาคต
024 การพนัน
025 ความกลัวคืออะไร
026 ประหม่าหน้าคน
027 กลัวความเจ็บปวด
028 ปล่อยวางความเจ็บปวด
029 เจ็บนิดๆไม่นาน ดีกว่าใช้ยาช่วยถอนฟัน
030 ไม่มีกังวล

031
บทที่ 4 ความโกรธกับการให้อภัย ความโกรธ
032 การพิจารณาคดี
033 งานปฏิบัติธรรม
034 ปีศาจกินความโกรธ
035 ไม่ไหวแล้ว พอกันที ฉันไม่อยู่แล้ว
036 วิธีการที่จะระงับการต่อต้านการปกครอง
037 สงบลงด้วยการให้อภัย
038 การให้อภัยเชิงสร้างสรรค์

039
บทที่ 5 สร้างความสุข การยกย่องชมเชยพาเราไปได้ทุกแห่ง
040 วีไอพี เป็นได้อย่างไร
041 สองนิ้วช่วยยิ้ม
042 คำสอนที่ล้ำค่า
043 แล้วมันจะผ่านพ้นไปเช่นกัน
044 การเสียสละเยี่ยงวีรบุรุษ
045 ขี้วัวเต็มคันรถบรรทุก
046 มากเกินไปที่จะหวัง
047 ถังขยะก้นรั่ว
048 มันอาจจะยุติธรรมก็ได้

049
บทที่ 6 ปัญหาวิกฤติและการแก้ไขด้วยเมตตา กฏแห่งกรรม
050 ดื่มชาเมื่อไม่มีทางออก
051 ไปตามกระแส
052 ติดกับระหว่างเสือและงู
053 คำแนะนำเพื่อชีวิต
054 มีปัญหารึ
055 การตัดสินใจ
056 การโทษผู้อื่น
057 คำถามสามข้อของจักรพรรดิ
058 วัวร้องไห้
059 เด็กหญิงเล็กๆ กับเพื่อนของเธอ
060 งู นายกเทศมนตรี และพระ
061 งูตัวร้าย

062
บทที่ 7 ปัญญาและความสงบภายใน ปัญญานำ น้ำใจตาม
063 ความห่วงใยต่อลูกชาย
064 ปัญญาคืออะไร
065 กินอย่างฉลาด
066 การแก้ปัญหา
067 ฟังผิด
068 ไม่ใช่ปัญญา
069 โอษฐภัย
070 เต่าพูดมาก
071 พูดได้ฟรี ไม่ต้องจ่ายภาษี

072
บทที่ 8 จิตกับสัจธรรม หมอผี
073 อะไรใหญ่ที่สุดในโลก
074 การค้นหาจิต
075 วิทยาศาสตร์
076 ศาสตร์แห่งความสงบ
077 ความเชื่ออันงมงาย

078
บทที่ 9 คุณค่าและการปฏิบัติธรรม เสียงที่ไพเราะที่สุด
079 อำนาจปิรามิด
080 หินที่มีค่า
081 แล้วฉันจะเป็นสุข
082 ชาวประมงเม็กซิกัน
083 พอ

084
บทที่ 10 อิสรภาพและความ อ่อนน้อมถ่อมตน อิสระสองประเภท
085 อิสระชนิดไหนล่ะที่ท่านชอบ
086 โลกเสรี
087 อาหารค่ำกับองค์กรนิรโทษกรรมสากล
088 การแต่งตัวของพระ
089 หัวเราะตัวเอง
090 การหัวเราะที่ดังสุดของหมามะกัน
091 เหม็นลม
092 เมื่ออาตมาบรรลุธรรม
093 หมอหรือหมู
094 ฮาริคริชน่า
095 ค้อนใคร
096 มองเป็นเรื่องตลกดีกว่า
097 ไอ้โง่

098
บทที่ 11 ความทุกข์และการ ปล่อยวาง คิดยากกว่าทำ
099 ขุ่นเพราะขน
100 กรรมของเราหนอ บุญของเขาหนอ
101 ไม่ปลอบก็เหมือนปลอบ
102 การเจ็บป่วยเป็นเรื่องผิดปกติรึ
103 เยี่ยมคนป่วย
104 หัวเราะไม่ห้าม
105 คอนเสิร์ตชีวิต
106 ใบไม้ร่วง
107 ปุ่มชะตากรรม
108 เมียข้ามชาติ
109 หัวเราะให้ออก
110 เสน่ห์กองขี้
111 ประวัติผู้เขียน
112 จากใจผู้จัดทำ
113 Don't Worry Be Happy

พระอาจารย์พรหมวังโส

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sleepwalker&month=18-04-2008&group=11&gblog=28

พระอาจารย์พรหมวังโส

เมื่อ วันอาทิตย์ - วันจันทร์ต้นเดือนเมษา ฉันมีโอกาสไปฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์พรหมวังโส 2 วัน

เลยขอนำ การเทศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน มาเล่าสู่กันฟัง
เนื่องจากหลวงพ่อ เทศน์เป็นภาษาอังกฤษ ฉันจึงแปลและเรียบเรียงตามความเข้าใจ
ผิดพลาดประการ ใดขออภัยไว้ล่วงหน้า และขอน้อมรับความผิดไว้ทุกประการ


สมาธิ คืออะไร

หลวงพ่อถามแล้วสาธิตโดยยกแก้วน้ำให้ดู
ยิ่งยก แก้วไว้นานเท่าไร แก้วก็จะยิ่งหนักมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อถือไว้นานๆ จนรู้สึกว่าแก้วหนักเกินไป

เรื่องง่ายๆ ที่ควรจะทำก็คือ วางแก้วใบนั้นลง
หลังจากวางลงแล้ว เมื่อเรายกแก้วใบเดิมขึ้นมาใหม่
เรา จะรู้สึกเหมือนกับว่าแก้วใบนั้นเบาลง

การนั่งสมาธิก็เหมือนการวาง แก้วลง
เมื่อออกจากสมาธิ เราจะพบว่า ชีวิตนั้นไม่หนักหนาสาหัสจนเกินไปนัก



ปล่อยวาง

หลวงพ่อเปรียบเทียบสมาธิกับการทำให้น้ำในแก้ว นิ่ง
หลายๆ คน ทำสมาธิโดยการบังคับ ให้ใจนิ่ง
เหมือนกับการพยายามถือ ไว้ให้นิ่งๆ
ยิ่งเราเกร็ง ตั้งใจถือแก้วให้อยู่นิ่งๆ
น้ำในแก้วกลับ ยิ่งสั่นไหว

การทำให้น้ำในแก้วนิ่งนั้น
จำเป็นต้องวางแก้วน้ำ นั้นลง
แม้ว่าในช่วงที่เรายกแก้วน้ำลงสู่พื้นนั้น น้ำอาจจะกระฉอกมากสักหน่อย
เหมือนเมื่อเราปลดปล่อยการควบคุมบังคับจิตใจ
มัน อาจจะกระเพื่อมเกินปกติไปบ้าง
แต่ที่สุดแล้ว มันก็จะนิ่ง เหมือนกับน้ำในแก้วที่วางอยู่บนพื้น



let it go


ทำไม

หลวง พ่อเล่าว่า ครั้งหนึ่ง สมัยที่ท่านยังบวชอยู่ที่วัดป่านานาชาติ
ครั้ง หนึ่งท่านเพิ่งออกมาจากสมาธิ และเดินสวนกับหลวงพ่อชา
หลวงพ่อชาจ้องท่าน เขม็งแล้วถามด้วยเสียงอันดังว่า 'พรหมวังโส ทำไม!'
หลวงพ่อได้แต่ตอบว่า I don't know
หลวงพ่อชาหัวเราะ แล้วบอกว่า งั้นจะบอกให้
หลวงพ่อจึง ตั้งใจฟัง คำตอบจากครูบาอาจารย์
คำตอบของคำถามว่า "ทำไม"
คำตอบของ หลวงพ่อชาคือ "ไม่มีอะไร"
แล้วหลวงพ่อชาก็ถามว่า เข้าใจไหม
ในตอนนั้น หลวงพ่อก็ตอบไปว่า เข้าใจ
ทั้งที่จริงๆ ก็ยังไม่เข้าใจ

ที่ว่า ไม่มีอะไรก็คือ
ไม่มีใคร ไม่มีตัวตน มีแต่ความว่าง




การ นั่งสมาธิ
การวางแก้วลง
การเลิกยึดถือ
การหยุดทำ
การไม่พยายาม จะไปที่ใด
หรือไม่พยายามจะเป็นสิ่งใด
การไม่ตัดสิน
การเลิกพยายาม จะควบคุมสิ่งต่างๆ


ในการนั่งสมาธิ เราจะพบว่า ยิ่งเราปล่อยวางได้มากเท่าใด ตัวเราก็จะยิ่งหายไปมากเท่านั้น
ยิ่งเรา ปล่อยวาง เลิกพยายามควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากเท่าใด เราก็จะยิ่งสงบมากขึ้น
ยิ่ง อยู่นิ่ง ก็จะยิ่งมีพลัง มีความสุข และยิ่งว่าง




หาก ต้องการมีร่างกายที่แข็งแรง ก็ต้องออกกำลังกาย
หากต้องการมีจิตใจที่มี กำลัง ก็ต้องให้มันอยู่นิ่งๆ



ยิ่งคิด ยิ่งทำ มากเท่าใด จิตใจก็จะยิ่งอ่อนแอลง
ยิ่ง ตัวเราหายไปมากเท่าใด จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น

มีคำกล่าว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคตอนหนึ่งว่า

The path is, but no traveller on it is seen
Enlightenment is, but no person will enter enlightenment

ถ้า หากยังยึดถือในตัวตนอยู่ การนั่งสมาธิก็จะเป็นหนทางอันยากลำบาก
ยิ่งเรา พยายามที่จะควบคุม สมาธิก็ยิ่งยากที่จะเกิดขึ้น




ชีวิต เปรียบดังรถโดยสารที่ไร้พลขับ


ในชีวิตของเราเราต้องพบ เจอกับเรื่องต่างๆ มากมาย
บางครั้งรถโดยสารที่เรานั่งไปก็ผ่านไปยัง เหตุการณ์ดีๆ
เหตุการณ์ที่เราอยากจะให้รถของเราแล่นไปช้าๆ หรือหยุดนิ่ง
เพื่อ จะได้ชื่นชมสิ่งดีๆ เหล่านั้นนานๆ
มิไยที่เราขอร้องคนขับให้ลดความเร็ว ลง
หรือตะโกนบ่นว่าสักเท่าไร ก็ไม่ได้ผล
ยิ่งเราอยากให้รถวิ่งช้าลง
ก็ ดูเหมือนคนขับจะกระทืบคันเร่งพารถห้อตะบึงให้ผ่านพ้นไปอย่างสุดความสามารถ

บาง ครา ที่รถแล่นผ่านไปยังเหตุการณ์อันไม่น่ารื่นรมย์
เหตุการณ์ที่เราอยาก จะพ้นไปเสียเร็วๆ
เราก็ตะโกนร้องให้คนขับรีบๆ เหยียบคันเร่งไปเสียให้พ้นๆ
คนขับก็กลับจะแกล้งขับให้ช้าเฉื่อย หรือบางทีอาจจะจอดรถเสียเฉยๆ




ส่วนมากในการปฏิบัติธรรม นั้นในขั้นต้น
เรามักจะเสาะหาเจ้าตัวคนขับรถ เพื่อที่เราจะได้ไม่เป็นทุกข์
เพื่อที่เราจะสามารถควบคุมรถโดยสารคันนี้ ได้ตามต้องการ
ให้แล่นช้าในยามที่เรามีความสุข
ให้แล่นเร็ว เมื่อเรามีความทุกข์

แต่เราสำรวจไปทั่วทั้งคันรถ
เราตามหาลึกลงไป เรื่อยๆ เราจะได้พบว่า
ณ ที่นั่งคนขับนั้น ไม่มีผู้ใดนั่งอยู่

แล้ว เราจะทำอย่างไร
เราทำได้เพียงแต่กลับไปนั่งที่ผู้โดยสาร และหยุดบ่น

ก็ จะบ่นไปทำไมในเมื่อไม่มีใครอยู่ฟัง
นั่งให้สบายๆ ดีกว่า

นี่อาจจะ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เรายอมรับว่า
เราไม่อาจควบคุมอะไรได้

และ เมื่อนั้นเราก็จะเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง



เป้าหมายของชีวิต
เคยมีคนถามหลวงพ่อว่า เป้าหมายของชีวิตคืออะไร

เป้าหมายของชีวิตคือการหาเป้าหมายของชีวิต
ถ้า ลองพิจารณาดู จะพบว่านี่คือความจริง
เมื่อเราพบเป้าหมายของชีวิตแล้ว
ก็ เท่ากับเราได้บรรลุเป้าหมายของชีวิต


สมัยยังเป็นนักวิทยาศาสตร์
หลวง พ่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ เพื่อจะค้นหาความจริงของจักรวาล
แต่ต่อมาแทน ที่จะอยากรู้ว่ามีอะไรบนดวงดาว
หลวงพ่อกลับอยากรู้ว่า ใครกันที่กำลังมองดูดวงดาวเหล่านั้นอยู่
หลวงพ่อใช้การนั่งสมาธิเป็น เครื่องมือที่จะค้นพบคนๆ นั้น
คนๆ นี้คือใครกัน
ใครกันที่กำลังนั่ง ฟังเทศน์อยู่
ใครกันที่กำลังทำอะไรต่อมิอะไร

เป้าหมายทั้งหมดของ ศาสนาพุทธคือการค้นพบเก้าอี้คนขับรถอันว่างเปล่า
เพื่อที่จะหายไป

เรา กำลังทนทุกข์

ยิ่งมีตัวตนมาก ก็ยิ่งทุกข์มาก
ยิ่งหายไปมาก ก็ยิ่งทุกข์น้อยลง

How wonderful it is, to be nothing...