Ads 468x60px

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระอาจารย์พรหมวังโส

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sleepwalker&month=18-04-2008&group=11&gblog=28

พระอาจารย์พรหมวังโส

เมื่อ วันอาทิตย์ - วันจันทร์ต้นเดือนเมษา ฉันมีโอกาสไปฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์พรหมวังโส 2 วัน

เลยขอนำ การเทศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน มาเล่าสู่กันฟัง
เนื่องจากหลวงพ่อ เทศน์เป็นภาษาอังกฤษ ฉันจึงแปลและเรียบเรียงตามความเข้าใจ
ผิดพลาดประการ ใดขออภัยไว้ล่วงหน้า และขอน้อมรับความผิดไว้ทุกประการ


สมาธิ คืออะไร

หลวงพ่อถามแล้วสาธิตโดยยกแก้วน้ำให้ดู
ยิ่งยก แก้วไว้นานเท่าไร แก้วก็จะยิ่งหนักมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อถือไว้นานๆ จนรู้สึกว่าแก้วหนักเกินไป

เรื่องง่ายๆ ที่ควรจะทำก็คือ วางแก้วใบนั้นลง
หลังจากวางลงแล้ว เมื่อเรายกแก้วใบเดิมขึ้นมาใหม่
เรา จะรู้สึกเหมือนกับว่าแก้วใบนั้นเบาลง

การนั่งสมาธิก็เหมือนการวาง แก้วลง
เมื่อออกจากสมาธิ เราจะพบว่า ชีวิตนั้นไม่หนักหนาสาหัสจนเกินไปนัก



ปล่อยวาง

หลวงพ่อเปรียบเทียบสมาธิกับการทำให้น้ำในแก้ว นิ่ง
หลายๆ คน ทำสมาธิโดยการบังคับ ให้ใจนิ่ง
เหมือนกับการพยายามถือ ไว้ให้นิ่งๆ
ยิ่งเราเกร็ง ตั้งใจถือแก้วให้อยู่นิ่งๆ
น้ำในแก้วกลับ ยิ่งสั่นไหว

การทำให้น้ำในแก้วนิ่งนั้น
จำเป็นต้องวางแก้วน้ำ นั้นลง
แม้ว่าในช่วงที่เรายกแก้วน้ำลงสู่พื้นนั้น น้ำอาจจะกระฉอกมากสักหน่อย
เหมือนเมื่อเราปลดปล่อยการควบคุมบังคับจิตใจ
มัน อาจจะกระเพื่อมเกินปกติไปบ้าง
แต่ที่สุดแล้ว มันก็จะนิ่ง เหมือนกับน้ำในแก้วที่วางอยู่บนพื้น



let it go


ทำไม

หลวง พ่อเล่าว่า ครั้งหนึ่ง สมัยที่ท่านยังบวชอยู่ที่วัดป่านานาชาติ
ครั้ง หนึ่งท่านเพิ่งออกมาจากสมาธิ และเดินสวนกับหลวงพ่อชา
หลวงพ่อชาจ้องท่าน เขม็งแล้วถามด้วยเสียงอันดังว่า 'พรหมวังโส ทำไม!'
หลวงพ่อได้แต่ตอบว่า I don't know
หลวงพ่อชาหัวเราะ แล้วบอกว่า งั้นจะบอกให้
หลวงพ่อจึง ตั้งใจฟัง คำตอบจากครูบาอาจารย์
คำตอบของคำถามว่า "ทำไม"
คำตอบของ หลวงพ่อชาคือ "ไม่มีอะไร"
แล้วหลวงพ่อชาก็ถามว่า เข้าใจไหม
ในตอนนั้น หลวงพ่อก็ตอบไปว่า เข้าใจ
ทั้งที่จริงๆ ก็ยังไม่เข้าใจ

ที่ว่า ไม่มีอะไรก็คือ
ไม่มีใคร ไม่มีตัวตน มีแต่ความว่าง




การ นั่งสมาธิ
การวางแก้วลง
การเลิกยึดถือ
การหยุดทำ
การไม่พยายาม จะไปที่ใด
หรือไม่พยายามจะเป็นสิ่งใด
การไม่ตัดสิน
การเลิกพยายาม จะควบคุมสิ่งต่างๆ


ในการนั่งสมาธิ เราจะพบว่า ยิ่งเราปล่อยวางได้มากเท่าใด ตัวเราก็จะยิ่งหายไปมากเท่านั้น
ยิ่งเรา ปล่อยวาง เลิกพยายามควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากเท่าใด เราก็จะยิ่งสงบมากขึ้น
ยิ่ง อยู่นิ่ง ก็จะยิ่งมีพลัง มีความสุข และยิ่งว่าง




หาก ต้องการมีร่างกายที่แข็งแรง ก็ต้องออกกำลังกาย
หากต้องการมีจิตใจที่มี กำลัง ก็ต้องให้มันอยู่นิ่งๆ



ยิ่งคิด ยิ่งทำ มากเท่าใด จิตใจก็จะยิ่งอ่อนแอลง
ยิ่ง ตัวเราหายไปมากเท่าใด จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น

มีคำกล่าว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคตอนหนึ่งว่า

The path is, but no traveller on it is seen
Enlightenment is, but no person will enter enlightenment

ถ้า หากยังยึดถือในตัวตนอยู่ การนั่งสมาธิก็จะเป็นหนทางอันยากลำบาก
ยิ่งเรา พยายามที่จะควบคุม สมาธิก็ยิ่งยากที่จะเกิดขึ้น




ชีวิต เปรียบดังรถโดยสารที่ไร้พลขับ


ในชีวิตของเราเราต้องพบ เจอกับเรื่องต่างๆ มากมาย
บางครั้งรถโดยสารที่เรานั่งไปก็ผ่านไปยัง เหตุการณ์ดีๆ
เหตุการณ์ที่เราอยากจะให้รถของเราแล่นไปช้าๆ หรือหยุดนิ่ง
เพื่อ จะได้ชื่นชมสิ่งดีๆ เหล่านั้นนานๆ
มิไยที่เราขอร้องคนขับให้ลดความเร็ว ลง
หรือตะโกนบ่นว่าสักเท่าไร ก็ไม่ได้ผล
ยิ่งเราอยากให้รถวิ่งช้าลง
ก็ ดูเหมือนคนขับจะกระทืบคันเร่งพารถห้อตะบึงให้ผ่านพ้นไปอย่างสุดความสามารถ

บาง ครา ที่รถแล่นผ่านไปยังเหตุการณ์อันไม่น่ารื่นรมย์
เหตุการณ์ที่เราอยาก จะพ้นไปเสียเร็วๆ
เราก็ตะโกนร้องให้คนขับรีบๆ เหยียบคันเร่งไปเสียให้พ้นๆ
คนขับก็กลับจะแกล้งขับให้ช้าเฉื่อย หรือบางทีอาจจะจอดรถเสียเฉยๆ




ส่วนมากในการปฏิบัติธรรม นั้นในขั้นต้น
เรามักจะเสาะหาเจ้าตัวคนขับรถ เพื่อที่เราจะได้ไม่เป็นทุกข์
เพื่อที่เราจะสามารถควบคุมรถโดยสารคันนี้ ได้ตามต้องการ
ให้แล่นช้าในยามที่เรามีความสุข
ให้แล่นเร็ว เมื่อเรามีความทุกข์

แต่เราสำรวจไปทั่วทั้งคันรถ
เราตามหาลึกลงไป เรื่อยๆ เราจะได้พบว่า
ณ ที่นั่งคนขับนั้น ไม่มีผู้ใดนั่งอยู่

แล้ว เราจะทำอย่างไร
เราทำได้เพียงแต่กลับไปนั่งที่ผู้โดยสาร และหยุดบ่น

ก็ จะบ่นไปทำไมในเมื่อไม่มีใครอยู่ฟัง
นั่งให้สบายๆ ดีกว่า

นี่อาจจะ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เรายอมรับว่า
เราไม่อาจควบคุมอะไรได้

และ เมื่อนั้นเราก็จะเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง



เป้าหมายของชีวิต
เคยมีคนถามหลวงพ่อว่า เป้าหมายของชีวิตคืออะไร

เป้าหมายของชีวิตคือการหาเป้าหมายของชีวิต
ถ้า ลองพิจารณาดู จะพบว่านี่คือความจริง
เมื่อเราพบเป้าหมายของชีวิตแล้ว
ก็ เท่ากับเราได้บรรลุเป้าหมายของชีวิต


สมัยยังเป็นนักวิทยาศาสตร์
หลวง พ่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ เพื่อจะค้นหาความจริงของจักรวาล
แต่ต่อมาแทน ที่จะอยากรู้ว่ามีอะไรบนดวงดาว
หลวงพ่อกลับอยากรู้ว่า ใครกันที่กำลังมองดูดวงดาวเหล่านั้นอยู่
หลวงพ่อใช้การนั่งสมาธิเป็น เครื่องมือที่จะค้นพบคนๆ นั้น
คนๆ นี้คือใครกัน
ใครกันที่กำลังนั่ง ฟังเทศน์อยู่
ใครกันที่กำลังทำอะไรต่อมิอะไร

เป้าหมายทั้งหมดของ ศาสนาพุทธคือการค้นพบเก้าอี้คนขับรถอันว่างเปล่า
เพื่อที่จะหายไป

เรา กำลังทนทุกข์

ยิ่งมีตัวตนมาก ก็ยิ่งทุกข์มาก
ยิ่งหายไปมาก ก็ยิ่งทุกข์น้อยลง

How wonderful it is, to be nothing...

0 ความคิดเห็น: