http://thaialljobs.blogspot.com/2009/02/50.html
50 คำถามยอดนิยมในการสัมภาษณ์งาน
การตอบคำถามในการสัมภาษณ์งานเป็นสิ่งสำคัญเป็นโอกาสที่ผู้สมัครจะได้แสดงความคิดและตัวตน เป็นโอกาสที่จะได้นำเสนอตนเองเพื่อที่จะได้งาน ดังนั้นจึงขอนำเสนอคำถามที่มักใช้กันบ่อย ๆ ในการสัมภาษณ์งาน หลักจากนั้นควรก็ควรนำไปพิจารณาดูว่าควรจะตอบอย่างไรเพื่อให้ได้งาน
1. "กรุณาเล่าประวัติคร่าว ๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
ผู้ตอบควรเล่าประวัติคร่าว ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เล่าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยได้ทำเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานอย่างไร อย่าเล่าเหมือนท่องมา และไม่พูดเรื่องส่วนตัวมากจนเกินไป หากแต่ควรพูดถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
2. "ทำไมคุณถึงออกจากงานปัจจุบันที่ทำอยู่"
คุณไม่ควรพูดถึงการออกจากที่ทำงานเก่าในทางลบ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งในการทำงาน ไม่ว่าจะกับผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน คุณควรพูดในเชิงบวก ว่าเป็นโอกาสที่หาความท้าทายใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเอง อยากลองสิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น
3. "คุณมีประสบการณ์อะไรที่เอื้อประโยชน์ต่อตำแหน่งงานที่สมัคร"
คุณตอบคำถามไปตามจริงว่ามีสิ่งใดบางที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร หากคุณไม่มีประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงกับงาน ก็พยายามพูดให้ใกล้เคียงกับงานที่คุณสมัครที่สุด
4. "คุณคิดว่าคุณประสบความสำเร็จหรือไม่ในตอนนี้"
ในเชิงการสัมภาษณ์แล้วคุณควรตอบว่า ใช่ แล้วอธิบายว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น กล่าวถึงเป้าหมายของที่ตั้งไว้แล้วทำตามเป้าหมายนั้นอย่างไร มีการติดตามผลและวัดผลงานของตนอยู่เสมอ
5. "เพื่อนร่วมงานของคุณคิดกับคุณอย่างไร"
คุณควรเตรียมคำพูดที่เพื่อนร่วมงานของคุณพูดถึงคุณไว้สักสองสามคน โดยอาจระบุจำเพาะเจาะจงไปเลยว่า ใครพูดถึงคุณอย่างไรและควรเป็นไปในทางบวก
6. "คุณรู้จักบริษัทเรารึเปล่า"
การจะตอบคำถามนี้ได้ดีคุณควรค้นคว้าหาข้อมูลบริษัทนั้น ๆ ก่อนการเข้าสัมภาษณ์ รู้ในเบื้องต้นว่าบริษัทนั้นธุรกิจอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร มีเป้าหมายอะไร ตำแหน่งในตลาด ใครเป็นผู้บริหาร เป็นต้น
7. "คุณได้ทำอะไรที่เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของคุณบ้าง"
คุณควรเล่าถึงกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถในตัวงาน มีกิจกรรมที่สามารถบอกเล่าให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจว่าเราพัฒนาตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ
8. "คุณสมัครงานที่อื่น ๆ ด้วยหรือเปล่า"
ก็ให้ตอบอย่างตรงไปตรงมา แต่อย่าพูดถึงมากนักให้ตอบโดยให้น้ำหนักไปในงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่มากกว่า ว่าตนทำอะไรให้กับที่นี่ได้บ้าง
9. "ทำไมจึงอยากทำงานให้กับบริษัทของเรา"
ก่อนอื่นคุณต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่สมัครก่อน และแสดงเป้าหมายทางอาชีพของคุณ
10. "มีใครที่คุณรู้จักในบริษัทบ้าง"
ข้อควรระวังอีกอย่างคือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการมีญาติพี่น้องที่ทำงานในองค์กร แต่อย่างไรก็ดีคุณก็ควรตอบไปอย่างตรงไปตรงมาถ้าบริสุทธิ์ใจ
11. "คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร"
ถ้าหากคุณไม่มั่นใจที่จะตอบ หรือไม่มีความรู้ว่าตำแหน่งงานของคุณควรที่จะได้รับเงินเดือนเท่าไร ก็คือตอบช่วงเงินเดือนที่คุณต้องการและคิดว่าเหมาะสมไป และ ทางออกอย่างหนึ่งก็คือถามกลับไปยังผู้สัมภาษณ์ว่าช่วงเงินเดือนที่พนักงานในตำแหน่งนี้ในบริษัทคุณเป็นอย่างไร
12. "คุณชอบทำงานเป็นทีมรึเปล่า"
คุณควรตอบว่าใช่ และพยายามพูดถึงประสบการณ์หรือสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นทีม อย่าพูดเกินจริง
13. "คุณจะทำงานที่นี่อีกนานไหม"
อย่าตอบแบบระบุเป็นระยะเวลาตรง ๆ ให้ตอบในเชิงว่า จะทำให้นานที่สุดเท่าที่จะทำประโยชน์ให้องค์กรได้ หรือ ชอบที่จะทำงานกับองค์กรระยะยาวเพื่อที่จะได้เรียนรู้และเข้าใจองค์กรเป็นต้น
14. "คุณเคยไล่คนออกหรือไม่ และรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นั้น"
ถ้าเคยก็อย่าตอบคำตอบที่แสดงไปในทางว่าคุณมีอำนาจไล่คนออกได้ แต่ควรตอบในเชิงที่แสดงให้เห็นว่าการไล่ออกนั้นเป็นการกระทำที่ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอน การไล่ออกนั้นไม่เหมือนกับการลดจำนวนกำลังคนลง
15 "ปรัชญาในการทำงานของคุณคืออะไร
ขอให้คุณตอบไปอย่างสั้น ๆ ได้ใจความ มีความหมายในเชิงบวกสร้างประโยชน์ให้องค์กร
16. "ถ้าคุณมีเงินมากพอในตอนนี้คุณจะเกษียณตัวเองหรือไม่"
แน่นอนว่าคุณควรจะตอบว่าคุณอยากจะทำงานมากกว่า
17. "คุณเคยโดนไล่ออกจากงานหรือไม่"
ขอให้คุณตอบไปตามความจริง หลีกเลี่ยงการพูดกระทบในเชิงลบกับบริษัทเดิม
18. "แสดงให้เห็นว่าหากคุณได้รับเข้ามาเป็นพนักงานองค์กรแล้ว คุณจะทำอะไรให้กับองค์กรได้บ้าง"
คุณควรให้ความสำคัญกับคำถามประเภทนี้ ที่จะให้โอกาสคุณได้แสดงทัศนคติ โดยให้คุณนำเสนอจุดแข็งของคุณเข้ากับหน้าที่ที่คุณจะได้รับมอบหมาย ให้สมมุติว่าคุณได้รับเข้าไปทำงานจริง ๆ แล้วคุณจะทำอะไรบ้าง
19. "เหตุผลที่เราต้องจ้างคุณ"
ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพและจุดแข็งของคุณ อย่ากล่าวถึงบุคคลอื่นหรือเปรียบเทียบกับคนอื่นอย่างเด็ดขาด
20. "กรุณายกตัวอย่างข้อแนะนำที่คุณได้เคยให้กับองค์กร และองค์กรได้รับประโยชน์"
คุณควรตอบถึงข้อแนะนำที่คุณเคยทำให้เกิดประโยชน์กับองค์กรตามที่คุณเคยทำจริง ๆ ยิ่งเป็นข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของคุณยิ่งดี
21. "เพื่อนร่วมงานทำอะไรให้คุณรู้สึกหงุดหงิดบ้าง
อย่าลืมว่าคุณไม่ควรพูดถึงบุคคลที่ 3 ในทางลบ ฉะนั้นอย่าระบายความรู้สึกในปัญหาต่าง ๆ กับผู้สัมภาษณ์ ทางที่ดีคุณควรแสดงให้เห็นว่าคุณเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี
22. "จุดแข็งของคุณคืออะไร"
ขอให้คุณตอบไปตามจริงเป็นข้อ ๆ ยิ่งมากยิ่งดี
23. "งานในฝันของคุณคือ?"
คุณควรตอบคำถามนี้ด้วยคำตอบกว้าง ๆ และเป็นกลาง เช่น งานที่รัก งานที่เข้ากันได้กับเพื่อนร่วมงาน
24. "คุณจะสามารถทำงานที่นี่ได้ดีอย่างไร"
ให้ตอบโดยหาเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่จะเอื้อประโยชน์แก่บริษัท
25. "คนแบบไหนที่คุณไม่อยากร่วมงานด้วย"
อย่างที่เคยบอกไปคุณไม่ควรกล่าวถึงบุคคลที่ 3 ในแง่ลบ
26. "เงินกับงานอะไรที่สำคัญกว่ากัน"
เงินก็เป็นปัจจัยสำคัญ แต่งานสำคัญที่สุด
27. "เจ้านายคนก่อนของคุณพูดถึงคุณว่าอย่างไร"
ก็ตอบตามจริงยิ่งมากยิ่งดี
28. "เล่าให้ฟังถึงปัญหากับเจ้านายเก่า"
ให้พูดถึงแต่แง่ดีหลีกเลี่ยงการนินทา หากจำเป็นควรพูดถึงสิ่งไม่ดี พยายามพูดในเชิงบวก เช่น "เจ้านายเก่าเป็นคนเข้มงวดมาก แต่นั้นก็ช่วยทำให้ผมเป็นคนรอบคอบมากขึ้น"
29. "อะไรที่ทำให้คุณเปลี่ยนงาน"
พยายามอย่าพูดถึงงานเก่าในแง่ลบ ให้พูดในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่น
"ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ"
30. "ความสามารถในการทำงานภายใต้แรงกดดัน"
คุณอาจจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่คุณประสบสักเหตุการณ์หนึ่งโดยเหตุการณ์นั้นควรเกี่ยวพันธ์กับงานที่กำลังสัมภาษณ์ เพราะการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือประสบการณ์ย่อมดีกว่าพูดหรือกล่าวถึงเหตุการณ์สมมุติ
31. "ทักษะและประสบการณ์ของคุณน่าจะเหมาะกับอีกตำแหน่งมากกว่า"
คุณควรมั่นใจและตอบว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งที่กำลังสัมภาษณ์อยู่มากกว่า อาจเป็นคำถามเชิงจิตวิทยาที่แสดงความลังเลของคุณ
32. "อะไรเป็นแรงจูงใจให้คุณทำงานอย่างดีที่สุด"
ตอบไปตามจริงที่แสดงให้เห็นถึงตัวตนของคุณ เช่น ความท้าทาย การได้รับการยอมรับ
33. "คุณสามารถไปทำงานต่างถิ่น หรือเดินทางได้หรือไม่"
คุณควรระมัดระวังและตอบไปตามความเป็นจริง เพราะหากถึงเวลาจริง ๆ แล้วคุณไม่พร้อมย่อมส่งผลเสียต่อคุณ
34. "คุณรู้ได้อย่างไรว่าคุณประสบความสำเร็จกับงาน"
เจ้านายผมบอก หรือ จากผลการประเมินงาน
35. "คุณให้ความสำคัญกับงานมากกว่าเรื่องส่วนตัวใช่หรือไม่"
ตอบอย่างตรงไปตรงมา อย่าเกรงปัญหาจริยธรรม
36. "อธิบายสไตล์การบริหารงานของคุณ"
คำตอบหนึ่งที่ได้ผลดีเสมอคือ แล้วแต่สถานการณ์ การบริหารแบบใดแบบหนึ่งอาจไม่เหมาะกับบางเรื่อง
37. "คุณได้อะไรจากความผิดพลาดในงาน"
ให้คุณบอกถึงสิ่งที่คุณเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่คุณเคยทำ และการแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งผิดพลาดนั้นอีก
38. "คุณมีจุดบอดอะไร"
อาจเป็นคำถามหลอก พยายามอย่าเปิดเผยเรื่องส่วนตัวให้ผู้สัมภาษณ์ทราบ อย่าแนะแนวให้เข้ารู้เป็นอันขาด
39. "หากคุณต้องจ้างคนเข้ามาในตำแหน่งนี้ คนแบบไหนที่คุณกำลังมองหา"
บางครั้งการแสดงความมั่นใจว่า คนแบบคุณนี้แหละที่กำลังมองหา ก็อาจจะไม่เหมาะสม คุณควรบอกถึงรายละเอียดที่เป็นคุณสมบัติที่ต้องการและคุณมีในสิ่งนั้น
40. "คุณคิดว่าคุณมีคุณสมบัติเกินกว่าตำแหน่งที่สัมภาษณ์หรือเปล่า
ควรตอบว่าคุณมีคุณสมบัติครบท้วนแล้เพียบพร้อมในตำแหน่งงานนี้
41. "คุณมีอะไรมานำเสนอเนื่องจากคุณขาดประสบการณ์"
หากคุณไม่มีประสบการณ์ในงานที่สัมภาษณ์ คุณก็ควรหาจุดอื่นมาทดแทน
42. "คุณคิดว่าเจ้านายที่ดีควรเป็นอย่างไร"
ควรกล่าวไปในทางบวก และกว้าง ๆ เช่น เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นผู้นำ ยุติธรรม เป็นต้น
43. "หากเพื่อนร่วมงานของคุณไม่ปรองดองกันคุณจะทำอย่างไร"
ลองเล่าเหตุการณ์สมัยเรียนหรือทำงานให้ฟังดูโดยเน้นวิธีการแก้ปัญหาที่คุณใช้ อย่ามุ่งไปถึงเรื่องปัญหามากนัก หากแต่สนใจวิธีการ
44. "ตำแหน่งไหนในทีมงานที่คุณอยากจะทำมากที่สุด หากได้รับมอบหมายให้ทำโครงการ"
ให้ตอบอย่างซื่อสัตย์และเป็นจริง
45. "คติพจน์ในการทำงานของคุณคืออะไร"
ให้เน้นเรื่องที่เกี่ยวกับงาน และก่อเกิดผลประโยชน์ต่อองค์กรเช่น สนุกกับงาน เป็นต้น
46. "อะไรที่ทำให้คุณผิดหวังในอาชีพการงานที่สุด"
ให้ตอบโดยแสดงถึงสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ ไม่ใช่แสดงความผิดพลาดของคุณ
47. "เมื่อไรที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกกับงานที่สุด"
คำตอบที่ดีคำตอบหนึ่งก็คือ คุณจะมีความสุขเมื่องานนั้นประสบความสำเร็จโดยอาจยกตัวอย่างขึ้นมาก็ได้
48. "คุณจะแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์นี้อย่างไร"
หากมีการสมมุติเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาคุณควร ยกตัวอย่างประสบการณ์ที่คุณเคยประสบและมีความเกี่ยวข้อคลายคลึงกับเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่าง
49. "คุณคิดว่าเหมาะกับตำแหน่งนี้หรือไม่"
คุณควรพูดถึงคุณสมบัติที่คุณมีและเป็นความต้องการของตำแหน่งงานนั้น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีคุณสมบัติเพียงพอต่อตำแหน่งงานนี้
50. "มีคำถามอะไรเพิ่มเติมหรือไม่"
หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ก็ควรซักถาม และไม่ควรปล่อยคำถามนี้ให้ว่างเปล่า แต่ควรเตรียมคำถามสำหรับคำตอบนี้ไปด้วย เช่น มีโครงการใดบ้างที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ต้องใช้เวลาปรับตัวนานเท่าไรจึงจะสามารถทำงานได้เต็มที่
การตอบคำถามในการสัมภาษณ์งานเป็นสิ่งสำคัญเป็นโอกาสที่ผู้สมัครจะได้แสดงความคิดและตัวตน เป็นโอกาสที่จะได้นำเสนอตนเองเพื่อที่จะได้งาน ดังนั้นจึงขอนำเสนอคำถามที่มักใช้กันบ่อย ๆ ในการสัมภาษณ์งาน หลักจากนั้นควรก็ควรนำไปพิจารณาดูว่าควรจะตอบอย่างไรเพื่อให้ได้งาน
1. "กรุณาเล่าประวัติคร่าว ๆ เกี่ยวกับตัวคุณ
ผู้ตอบควรเล่าประวัติคร่าว ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เล่าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เคยได้ทำเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานอย่างไร อย่าเล่าเหมือนท่องมา และไม่พูดเรื่องส่วนตัวมากจนเกินไป หากแต่ควรพูดถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
2. "ทำไมคุณถึงออกจากงานปัจจุบันที่ทำอยู่"
คุณไม่ควรพูดถึงการออกจากที่ทำงานเก่าในทางลบ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งในการทำงาน ไม่ว่าจะกับผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน คุณควรพูดในเชิงบวก ว่าเป็นโอกาสที่หาความท้าทายใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเอง อยากลองสิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น
3. "คุณมีประสบการณ์อะไรที่เอื้อประโยชน์ต่อตำแหน่งงานที่สมัคร"
คุณตอบคำถามไปตามจริงว่ามีสิ่งใดบางที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัคร หากคุณไม่มีประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจงกับงาน ก็พยายามพูดให้ใกล้เคียงกับงานที่คุณสมัครที่สุด
4. "คุณคิดว่าคุณประสบความสำเร็จหรือไม่ในตอนนี้"
ในเชิงการสัมภาษณ์แล้วคุณควรตอบว่า ใช่ แล้วอธิบายว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น กล่าวถึงเป้าหมายของที่ตั้งไว้แล้วทำตามเป้าหมายนั้นอย่างไร มีการติดตามผลและวัดผลงานของตนอยู่เสมอ
5. "เพื่อนร่วมงานของคุณคิดกับคุณอย่างไร"
คุณควรเตรียมคำพูดที่เพื่อนร่วมงานของคุณพูดถึงคุณไว้สักสองสามคน โดยอาจระบุจำเพาะเจาะจงไปเลยว่า ใครพูดถึงคุณอย่างไรและควรเป็นไปในทางบวก
6. "คุณรู้จักบริษัทเรารึเปล่า"
การจะตอบคำถามนี้ได้ดีคุณควรค้นคว้าหาข้อมูลบริษัทนั้น ๆ ก่อนการเข้าสัมภาษณ์ รู้ในเบื้องต้นว่าบริษัทนั้นธุรกิจอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร มีเป้าหมายอะไร ตำแหน่งในตลาด ใครเป็นผู้บริหาร เป็นต้น
7. "คุณได้ทำอะไรที่เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของคุณบ้าง"
คุณควรเล่าถึงกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความรู้ความสามารถในตัวงาน มีกิจกรรมที่สามารถบอกเล่าให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจว่าเราพัฒนาตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ
8. "คุณสมัครงานที่อื่น ๆ ด้วยหรือเปล่า"
ก็ให้ตอบอย่างตรงไปตรงมา แต่อย่าพูดถึงมากนักให้ตอบโดยให้น้ำหนักไปในงานที่กำลังสัมภาษณ์อยู่มากกว่า ว่าตนทำอะไรให้กับที่นี่ได้บ้าง
9. "ทำไมจึงอยากทำงานให้กับบริษัทของเรา"
ก่อนอื่นคุณต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่สมัครก่อน และแสดงเป้าหมายทางอาชีพของคุณ
10. "มีใครที่คุณรู้จักในบริษัทบ้าง"
ข้อควรระวังอีกอย่างคือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการมีญาติพี่น้องที่ทำงานในองค์กร แต่อย่างไรก็ดีคุณก็ควรตอบไปอย่างตรงไปตรงมาถ้าบริสุทธิ์ใจ
11. "คุณต้องการเงินเดือนเท่าไร"
ถ้าหากคุณไม่มั่นใจที่จะตอบ หรือไม่มีความรู้ว่าตำแหน่งงานของคุณควรที่จะได้รับเงินเดือนเท่าไร ก็คือตอบช่วงเงินเดือนที่คุณต้องการและคิดว่าเหมาะสมไป และ ทางออกอย่างหนึ่งก็คือถามกลับไปยังผู้สัมภาษณ์ว่าช่วงเงินเดือนที่พนักงานในตำแหน่งนี้ในบริษัทคุณเป็นอย่างไร
12. "คุณชอบทำงานเป็นทีมรึเปล่า"
คุณควรตอบว่าใช่ และพยายามพูดถึงประสบการณ์หรือสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นทีม อย่าพูดเกินจริง
13. "คุณจะทำงานที่นี่อีกนานไหม"
อย่าตอบแบบระบุเป็นระยะเวลาตรง ๆ ให้ตอบในเชิงว่า จะทำให้นานที่สุดเท่าที่จะทำประโยชน์ให้องค์กรได้ หรือ ชอบที่จะทำงานกับองค์กรระยะยาวเพื่อที่จะได้เรียนรู้และเข้าใจองค์กรเป็นต้น
14. "คุณเคยไล่คนออกหรือไม่ และรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นั้น"
ถ้าเคยก็อย่าตอบคำตอบที่แสดงไปในทางว่าคุณมีอำนาจไล่คนออกได้ แต่ควรตอบในเชิงที่แสดงให้เห็นว่าการไล่ออกนั้นเป็นการกระทำที่ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอน การไล่ออกนั้นไม่เหมือนกับการลดจำนวนกำลังคนลง
15 "ปรัชญาในการทำงานของคุณคืออะไร
ขอให้คุณตอบไปอย่างสั้น ๆ ได้ใจความ มีความหมายในเชิงบวกสร้างประโยชน์ให้องค์กร
16. "ถ้าคุณมีเงินมากพอในตอนนี้คุณจะเกษียณตัวเองหรือไม่"
แน่นอนว่าคุณควรจะตอบว่าคุณอยากจะทำงานมากกว่า
17. "คุณเคยโดนไล่ออกจากงานหรือไม่"
ขอให้คุณตอบไปตามความจริง หลีกเลี่ยงการพูดกระทบในเชิงลบกับบริษัทเดิม
18. "แสดงให้เห็นว่าหากคุณได้รับเข้ามาเป็นพนักงานองค์กรแล้ว คุณจะทำอะไรให้กับองค์กรได้บ้าง"
คุณควรให้ความสำคัญกับคำถามประเภทนี้ ที่จะให้โอกาสคุณได้แสดงทัศนคติ โดยให้คุณนำเสนอจุดแข็งของคุณเข้ากับหน้าที่ที่คุณจะได้รับมอบหมาย ให้สมมุติว่าคุณได้รับเข้าไปทำงานจริง ๆ แล้วคุณจะทำอะไรบ้าง
19. "เหตุผลที่เราต้องจ้างคุณ"
ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพและจุดแข็งของคุณ อย่ากล่าวถึงบุคคลอื่นหรือเปรียบเทียบกับคนอื่นอย่างเด็ดขาด
20. "กรุณายกตัวอย่างข้อแนะนำที่คุณได้เคยให้กับองค์กร และองค์กรได้รับประโยชน์"
คุณควรตอบถึงข้อแนะนำที่คุณเคยทำให้เกิดประโยชน์กับองค์กรตามที่คุณเคยทำจริง ๆ ยิ่งเป็นข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของคุณยิ่งดี
21. "เพื่อนร่วมงานทำอะไรให้คุณรู้สึกหงุดหงิดบ้าง
อย่าลืมว่าคุณไม่ควรพูดถึงบุคคลที่ 3 ในทางลบ ฉะนั้นอย่าระบายความรู้สึกในปัญหาต่าง ๆ กับผู้สัมภาษณ์ ทางที่ดีคุณควรแสดงให้เห็นว่าคุณเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ดี
22. "จุดแข็งของคุณคืออะไร"
ขอให้คุณตอบไปตามจริงเป็นข้อ ๆ ยิ่งมากยิ่งดี
23. "งานในฝันของคุณคือ?"
คุณควรตอบคำถามนี้ด้วยคำตอบกว้าง ๆ และเป็นกลาง เช่น งานที่รัก งานที่เข้ากันได้กับเพื่อนร่วมงาน
24. "คุณจะสามารถทำงานที่นี่ได้ดีอย่างไร"
ให้ตอบโดยหาเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่จะเอื้อประโยชน์แก่บริษัท
25. "คนแบบไหนที่คุณไม่อยากร่วมงานด้วย"
อย่างที่เคยบอกไปคุณไม่ควรกล่าวถึงบุคคลที่ 3 ในแง่ลบ
26. "เงินกับงานอะไรที่สำคัญกว่ากัน"
เงินก็เป็นปัจจัยสำคัญ แต่งานสำคัญที่สุด
27. "เจ้านายคนก่อนของคุณพูดถึงคุณว่าอย่างไร"
ก็ตอบตามจริงยิ่งมากยิ่งดี
28. "เล่าให้ฟังถึงปัญหากับเจ้านายเก่า"
ให้พูดถึงแต่แง่ดีหลีกเลี่ยงการนินทา หากจำเป็นควรพูดถึงสิ่งไม่ดี พยายามพูดในเชิงบวก เช่น "เจ้านายเก่าเป็นคนเข้มงวดมาก แต่นั้นก็ช่วยทำให้ผมเป็นคนรอบคอบมากขึ้น"
29. "อะไรที่ทำให้คุณเปลี่ยนงาน"
พยายามอย่าพูดถึงงานเก่าในแง่ลบ ให้พูดในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่น
"ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ"
30. "ความสามารถในการทำงานภายใต้แรงกดดัน"
คุณอาจจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่คุณประสบสักเหตุการณ์หนึ่งโดยเหตุการณ์นั้นควรเกี่ยวพันธ์กับงานที่กำลังสัมภาษณ์ เพราะการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือประสบการณ์ย่อมดีกว่าพูดหรือกล่าวถึงเหตุการณ์สมมุติ
31. "ทักษะและประสบการณ์ของคุณน่าจะเหมาะกับอีกตำแหน่งมากกว่า"
คุณควรมั่นใจและตอบว่าคุณเหมาะกับตำแหน่งที่กำลังสัมภาษณ์อยู่มากกว่า อาจเป็นคำถามเชิงจิตวิทยาที่แสดงความลังเลของคุณ
32. "อะไรเป็นแรงจูงใจให้คุณทำงานอย่างดีที่สุด"
ตอบไปตามจริงที่แสดงให้เห็นถึงตัวตนของคุณ เช่น ความท้าทาย การได้รับการยอมรับ
33. "คุณสามารถไปทำงานต่างถิ่น หรือเดินทางได้หรือไม่"
คุณควรระมัดระวังและตอบไปตามความเป็นจริง เพราะหากถึงเวลาจริง ๆ แล้วคุณไม่พร้อมย่อมส่งผลเสียต่อคุณ
34. "คุณรู้ได้อย่างไรว่าคุณประสบความสำเร็จกับงาน"
เจ้านายผมบอก หรือ จากผลการประเมินงาน
35. "คุณให้ความสำคัญกับงานมากกว่าเรื่องส่วนตัวใช่หรือไม่"
ตอบอย่างตรงไปตรงมา อย่าเกรงปัญหาจริยธรรม
36. "อธิบายสไตล์การบริหารงานของคุณ"
คำตอบหนึ่งที่ได้ผลดีเสมอคือ แล้วแต่สถานการณ์ การบริหารแบบใดแบบหนึ่งอาจไม่เหมาะกับบางเรื่อง
37. "คุณได้อะไรจากความผิดพลาดในงาน"
ให้คุณบอกถึงสิ่งที่คุณเรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่คุณเคยทำ และการแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดสิ่งผิดพลาดนั้นอีก
38. "คุณมีจุดบอดอะไร"
อาจเป็นคำถามหลอก พยายามอย่าเปิดเผยเรื่องส่วนตัวให้ผู้สัมภาษณ์ทราบ อย่าแนะแนวให้เข้ารู้เป็นอันขาด
39. "หากคุณต้องจ้างคนเข้ามาในตำแหน่งนี้ คนแบบไหนที่คุณกำลังมองหา"
บางครั้งการแสดงความมั่นใจว่า คนแบบคุณนี้แหละที่กำลังมองหา ก็อาจจะไม่เหมาะสม คุณควรบอกถึงรายละเอียดที่เป็นคุณสมบัติที่ต้องการและคุณมีในสิ่งนั้น
40. "คุณคิดว่าคุณมีคุณสมบัติเกินกว่าตำแหน่งที่สัมภาษณ์หรือเปล่า
ควรตอบว่าคุณมีคุณสมบัติครบท้วนแล้เพียบพร้อมในตำแหน่งงานนี้
41. "คุณมีอะไรมานำเสนอเนื่องจากคุณขาดประสบการณ์"
หากคุณไม่มีประสบการณ์ในงานที่สัมภาษณ์ คุณก็ควรหาจุดอื่นมาทดแทน
42. "คุณคิดว่าเจ้านายที่ดีควรเป็นอย่างไร"
ควรกล่าวไปในทางบวก และกว้าง ๆ เช่น เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นผู้นำ ยุติธรรม เป็นต้น
43. "หากเพื่อนร่วมงานของคุณไม่ปรองดองกันคุณจะทำอย่างไร"
ลองเล่าเหตุการณ์สมัยเรียนหรือทำงานให้ฟังดูโดยเน้นวิธีการแก้ปัญหาที่คุณใช้ อย่ามุ่งไปถึงเรื่องปัญหามากนัก หากแต่สนใจวิธีการ
44. "ตำแหน่งไหนในทีมงานที่คุณอยากจะทำมากที่สุด หากได้รับมอบหมายให้ทำโครงการ"
ให้ตอบอย่างซื่อสัตย์และเป็นจริง
45. "คติพจน์ในการทำงานของคุณคืออะไร"
ให้เน้นเรื่องที่เกี่ยวกับงาน และก่อเกิดผลประโยชน์ต่อองค์กรเช่น สนุกกับงาน เป็นต้น
46. "อะไรที่ทำให้คุณผิดหวังในอาชีพการงานที่สุด"
ให้ตอบโดยแสดงถึงสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ ไม่ใช่แสดงความผิดพลาดของคุณ
47. "เมื่อไรที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกกับงานที่สุด"
คำตอบที่ดีคำตอบหนึ่งก็คือ คุณจะมีความสุขเมื่องานนั้นประสบความสำเร็จโดยอาจยกตัวอย่างขึ้นมาก็ได้
48. "คุณจะแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์นี้อย่างไร"
หากมีการสมมุติเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาคุณควร ยกตัวอย่างประสบการณ์ที่คุณเคยประสบและมีความเกี่ยวข้อคลายคลึงกับเหตุการณ์ที่ยกตัวอย่าง
49. "คุณคิดว่าเหมาะกับตำแหน่งนี้หรือไม่"
คุณควรพูดถึงคุณสมบัติที่คุณมีและเป็นความต้องการของตำแหน่งงานนั้น ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีคุณสมบัติเพียงพอต่อตำแหน่งงานนี้
50. "มีคำถามอะไรเพิ่มเติมหรือไม่"
หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ ก็ควรซักถาม และไม่ควรปล่อยคำถามนี้ให้ว่างเปล่า แต่ควรเตรียมคำถามสำหรับคำตอบนี้ไปด้วย เช่น มีโครงการใดบ้างที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ต้องใช้เวลาปรับตัวนานเท่าไรจึงจะสามารถทำงานได้เต็มที่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น