Ads 468x60px

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดิน

 การทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดิน
http://www.alro.go.th/alro/project/alro-law/file/4/4.html


1. ผู้มีสิทธิยื่นคำขอ

ผู้มีสิทธิยื่นคำขอความยินยอมในการใช้พื้นที่เพื่อการทำเหมือง ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เรื่อง การให้ความยินยอมในการนำทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ.2541ได้แก่ บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล สามารถยื่นคำขอได้ที่ ส.ป.ก.จังหวัด ที่ที่ดินตั้งอยู่

2. พื้นที่ที่จะพิจารณาให้ความยินยอมตามระเบียบนี้ ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้

     1) เป็นพื้นที่ซึ่งกรมป่าไม้และส.ป.ก.ได้ตรวจสอบตามบันทึกข้อตกลงแนวทางปฏิบัติร่วมกันแล้ว หรือไม่อยู่ในบริเวณที่ส.ป.ก.ได้กันไว้เป็นพื้นที่ป่าในเขตปฏิรูปที่ดิน
     2) สภาตำบล หรือ อบต. แห่งท้องที่นั้นมีความเห็นว่า บริเวณที่ขอรับความยินยอมไม่เป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงามอันควรรักษาไว้
     3) สภาตำบล หรือ อบต. แห่งท้องที่นั้น และ ส.ป.ก. จังหวัด เห็นชอบว่าการทำเหมืองในบริเวณนั้นไม่มีปัญหากระทบที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
     4) การทำเหมืองดังกล่าว มีลักษณะ ขนาด อาณาเขต และเนื้อที่ เหมาะสมกับกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ขอและแผนการใช้พื้นที่ตามโครงการประกอบคำขอ และพื้นที่นั้นมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าการเกษตร

3. ขั้นตอนการยื่นคำขอความยินยอมในการใช้พื้นที่

ผู้ที่ประสงค์จะยื่นคำขอความยินยอมในการใช้พื้นที่ทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ส.ป.ก.จังหวัด) ที่ที่ดินตั้งอยู่ ตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด (ส.ป.ก. 4-104) พร้อมทั้งแนบหลักฐานและเอกสารประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
     1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
     2) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และหลักฐานแสดงว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล จำนวน 1 ชุด (กรณีเป็นนิติบุคคล)
     3) หลักฐานการขออนุญาตตามกฎหมายอื่น
     4) แผนงานโครงการทำเหมืองแร่ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบจากหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุญาตให้ทำเหมืองแร่นั้น พร้อมแผนที่และแผนผังแสดงการใช้พื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
     5) ความเห็น อบต.ประจำท้องที่ เกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ในเขตปกครองว่า ยินยอมให้ใช้
หรือไม่อย่างไร โดยจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ว่า ไม่เป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงามอันควรรักษาไว้ และการขอทำเหมืองไม่มีปัญหากระทบที่สำคัญต่อความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง
     6) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านความเห็นชอบจากสำนักงาน
นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ สผ.
     7) แผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดินตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ได้กำหนด
     8) กรณีเป็นแปลงที่ดินที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก. แล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากเกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินนั้นและเกษตรกรดังกล่าวต้องสละสิทธิในที่ดินคืนแก่ส.ป.ก.ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ คปก.กำหนด และหากเป็นแปลงที่ดินที่ยังไม่ได้จัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือครองทำประโยชน์ในที่ดินนั้น ทุกรายทุกแปลง โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ มาแสดงต่อ ส.ป.ก.จังหวัด

4 ขั้นตอนการตรวจสอบพื้นที่ และเอกสารหลักฐาน 

เมื่อรับคำขอแล้ว ส.ป.ก. จังหวัด จะดำเนินการ ดังนี้
     1) ตรวจสอบคำขอ และความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ เมื่อเห็นว่า ถูกต้องครบถ้วน จะออกใบรับคำขอไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วน จะแจ้งผู้ยื่นคำขอฯ ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนก่อน
     2) ตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นคำขอ และตรวจสอบรายละเอียดสภาพแปลงที่ดินบริเวณที่ขอใช้ ว่าการทำเหมืองแร่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบเกษตรกรรมในที่ดินของเกษตรกรบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียงหรือไม่
     3) ตรวจสอบแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานการฟื้นฟูฯ ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้กำหนดไว้ (คปก. ครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2545 ) และไม่ขัดแย้งกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ผู้ยื่นคำขอฯ ได้เสนอ และผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และไม่ขัดต่อมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของ สผ.
     4) เมื่อดำเนินการตาม ข้อ 1) – 3) เรียบร้อยแล้ว จะพิจารณาว่า อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาให้ใช้พื้นที่ได้หรือไม่ หากเห็นว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาให้ความยินยอมได้ จะนำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการขอทำเหมืองและเห็นชอบแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดินฯ
     5) เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อ 4 แล้ว ส.ป.ก. จังหวัด จะส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดพร้อมทำความเห็น เสนอ ส.ป.ก. พิจารณา

5. ขั้นตอน การพิจารณาคำขอเพื่อทำเหมืองแร่ 
เมื่อ ส.ป.ก. ได้รับคำขอจาก ส.ป.ก. จังหวัดแล้ว จะดำเนินการดังนี้
     1) ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน กรณีถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะเสนอ เลขาธิการส.ป.ก. เพื่อขอความเห็นชอบให้นำเรื่องการขอใช้พื้นที่การทำเหมืองเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาการอนุญาต หรือการให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อพิจารณา
     2) เมื่อ เลขาธิการ ส.ป.ก. ให้ความเห็นชอบตามข้อ 1) แล้ว จะนำเรื่องการขอใช้พื้นที่การทำเหมืองดังกล่าวเสนอคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ การยินยอมให้ใช้ที่ดิน และให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองในเขตปฏิรูปที่ดิน
     3) หากคณะอนุกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ ส.ป.ก.จะนำเสนอ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) พิจารณาให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดินตามระเบียบฯ ต่อไป
     4) เมื่อ คปก. พิจารณาให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดินตามข้อ 3) แล้ว ส.ป.ก. จะแจ้งจังหวัดทราบ เพื่อออกหนังสือแสดงความไม่ขัดข้องให้ใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินฯ (ส.ป.ก.4-105) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ขออนุญาตนำไปประกอบการยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ เพื่อดำเนินการขอประทานบัตรต่อไป
     - ในกรณีที่คณะอนุกรรมการฯ ไม่เห็นชอบ หรือ คปก. ไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดิน ผู้ยื่นคำขอทำเหมืองแร่ หากไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณา สามารถใช้สิทธิทางศาลปกครองได้

6. ขนาดของพื้นที่ในการพิจารณาให้ความยินยอมให้ใช้ที่ดิน 

     6.1 การยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อทำเหมืองแร่ แต่ละคำขอไม่เกิน 300 ไร่ และมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินอายุประทานบัตร
     6.2 การยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อการสร้างทางขนแร่ออกจากเขตพื้นที่ประทานบัตร ให้มีความกว้างของทางไม่เกิน 6 เมตร (ตามมาตรฐานที่ ส.ป.ก. กำหนด) โดยมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินอายุประทานบัตร
     6.3 การยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองแร่ เช่น ที่เททิ้งมูลดินทราย ที่พักคนงาน ที่กองเก็บแร่ ที่ตั้งโรงโม่แร่ หรือแต่งแร่ รวมทั้งที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำเหมืองแร่ และอื่นๆ ให้ใช้พื้นที่ได้ตามตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่กิจการที่ขอ และมีกำหนดระยะเวลาไม่เกินอายุประทานบัตร
     6.5 กรณีจำนวนเนื้อที่ หรือระยะเวลาเกินกว่าที่กำหนดในระเบียบฯ ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.)

7. การชำระค่าตอบแทน

ผู้ได้รับหนังสือยินยอมจะต้องชำระค่าตอบแทนการใช้ที่ดินให้ ส.ป.ก. ตามบัญชีค่าตอบแทน ที่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้ให้ความเห็นชอบ (คปก ครั้งที่ 1/2542 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542) ดังนี้
7.1 การทำเหมือง ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน แยกเป็นดังนี้
     1) อัตราร้อยละ 2 ของราคาที่ดิน(.ให้ใช้ราคาประเมินกรมธนารักษ์ในพื้นที่นั้น หากไม่มีให้ใช้บริเวณใกล้เคียง แต่ต้องไม่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อไร่) คูณจำนวนปีที่ใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเรียกเก็บครั้งเดียวตลอดอายุหนังสือยินยอม และ
     2) จำนวนเงินเท่ากับการเก็บค่าภาคหลวงแร่ที่ผู้ถือประทานบัตรชำระให้แก่เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ (เรียกเก็บพร้อมกับค่าภาคหลวงแร่)
7.2 การสร้างทางขนแร่ และเพื่อใช้กิจการอันเกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองแร่ เช่น ที่เททิ้งมูลดินทราย ที่พักคนงาน ที่กองเก็บแร่ ที่ตั้งโรงโม่แร่ หรือแต่งแร่ ที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ เรียกเก็บในอัตราไร่ละ 100 บาท ต่อปี โดยเรียกเก็บครั้งเดียวตลอดอายุหนังสือยินยอม

8. การออกหนังสือยินยอม
     1) ส.ป.ก. จังหวัด จะออกหนังสือยินยอมให้แก่ผู้ยื่นคำขอ ต่อเมื่อได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประทานบัตรให้แก่ ผู้ยื่นคำขอแล้ว และเมื่อผู้ยื่นคำขอได้วางหลักประกันและชำระค่าตอบแทนการใช้ที่ดินแล้ว จึงจะดำเนินการออกหนังสือยินยอมให้แก่ผู้นั้นต่อไป
     2) ส.ป.ก. จังหวัด จะออกหนังสือยินยอมให้เข้าใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด ( ส.ป.ก. ๔–๑๐๖)

0 ความคิดเห็น: