http://www.softbizplus.com/decorate/857-vegetable-garden-in-capital
เมื่อนึกถึง “คนเมือง” หลายคนมักนึกถึงผู้คนแต่งชุดทำงาน ถือกระเป๋าเอกสาร หน้าตาคร่ำเคร่ง กินแต่อาหารสำเร็จรูป จะเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เร่งรีบหรือจากสาเหตุอะไรก็ตาม ที่ทำให้วิถีชีวิตและค่านิยมของพวกเขาเปลี่ยนไป จนขาดทักษะในการพึ่งพาตนเองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านอาหาร ที่ต้องพึ่งพิงตลาดเพียงอย่างเดียวการปลูกผักไว้บริโภคเองในครัวเรือน จึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้คนเมืองสามารถพึ่งตนเองด้านอาหารได้ มากขึ้น ทั้งช่วยลดรายจ่าย ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนในชุมชน แถมผักยังมีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย เพราะปัจจุบันอาหารต่างๆ ที่คนเมืองเลือกซื้อ มักเต็มไปด้วยสารเคมี ทั้งยังผ่านกระบวนการแปรรูปมาอีกหลายขั้นตอน ทำให้คุณค่าทางอาหารน้อยลง นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาวิกฤติอาหาร ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเมือง ซึ่งเป็นปัญหาโดยรวมของสังคมอีกด้วย
การริเริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้เรื่องเกษตรในเมืองและชานเมือง รณรงค์เผยแพร่แนวคิดและรูปธรรมสู่สาธารณะ สุดท้ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของกลุ่มคนในเมืองและเพิ่ม พื้นที่สีเขียวในเขตเมือง ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อคนเมืองมากขึ้น
ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ ต้องการให้เข้ามาร่วมทำสวนผักคนเมืองนั้น ได้ทั้งบุคคลที่สนใจปลูกผักกินเอง กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันและใช้พื้นที่ตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น ทาวเฮาส์ บ้านเดี่ยว คอนโด หรือบ้านในชุมชนแออัด และกลุ่มบุคคลที่ใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน ได้แก่ ภายในโรงเรียน ชุมชนแออัด โรงงาน วัด รวมถึงบ้านจัดสรร เป็นต้น
สำหรับบุคคลหรือชุมชนใดที่สนใจอยากปลูกผัก แต่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ขอนำเสนอการปลูกผัก 3 แบบ เผื่อคนเมืองจะเกิดไอเดียนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่อยู่อาศัยของตน
หนังสือ สวนผักของคนเมือง
Vegetable Garden in Capital
9 เรื่องราวสีเขียวของเหล่าคนเมืองมือเปื้อนดิน ใจเปี่ยมสุข
ดวงตาคนเรามักเป็นประกายเมื่อได้พูดถึงสิ่งที่รักที่ชอบอยากบอกว่าเราได้เห็น “ประกาย” จากดวงตานับสิบ เมื่อครั้งที่ได้พบปะพูดคุยกับผู้ร่วมส่งสวนผักเข้ามาประกวดในโครงการ “สวนผักในบ้านฉัน” ซึ่งจัดเป็นปีแรก โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 2 - 6 กันยายน 2552
เป็นเรื่องเกินความคาดหมายที่มีเหล่า “คนเมือง” ส่งสวนผักประเภทต่างๆ เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก จากที่เคยมองว่าในเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพฯ พื้นที่น้อย ไม่มีดิน คนไม่มีเวลา เห็นจะต้องเปลี่ยนมุมมองเสียแล้ว เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นว่า ไม่มีข้อจำกัดในหัวใจสีเขียวของพวกเขาเหล่านั้น
เพียงแค่เรื่องเล่า คลิปวีดีโอ และรูปถ่ายที่ทยอยส่งมาทางอีเมลล์และจดหมาย ให้ได้คัดกรองเพื่อลงไปพื้นที่จริง ก็ทำให้เราอมยิ้มยากจะหุบแต่ขณะเดียวกันก็ลำบากใจกับการ “เลือก” อย่างที่สุดท้ายต้องมีผู้ชนะ คนได้รางวัล แต่เหล่าคนเมือง “มือเปื้อนดิน ใจเปี่ยมสุข” ทั้งหลายคงรู้ดี รางวัลไม่ได้เป็นสาระมากที่สุด แต่สิ่งสำคัญก็คือ ยามได้สัมผัสดิน เพาะเมล็ดดูแลบ่มเพาะต้นผักนานาชนิดที่เลือกปลูกให้เหมาะกับวิถีชีวิตต่าง หาก
บ้างได้ผลเกินกิน บ้างล้มหายตายจากไป แต่ก็เพื่อให้ได้เรียนรู้ลองปลูกใหม่ คิดค้นหาวิธีการ หาสาเหตุปัญหากันไป หลายคนจากมือสมัครเล่น เมื่อได้ผ่านประสบการณ์ลองผิดลองถูกก็กลายเป็นกูรูแนะนำคนอื่นต่อไปเรื่อยๆ
หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องเล่าของ 9 คนเมืองที่ได้รับรางวัลจากโครงการ ด้วยเห็นว่าแนวคิด วิธีการ เทคนิค ของแต่ละคนแต่ละประเภท มีทั้งเหมือนและแตกต่าง ซึ่งน่าจะได้บอกเล่าสู่สาธารณะเพื่อเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้แก่คนเมือง อีกจำนวนมากที่กำลังจดๆ จ้องๆ แต่ไม่กล้าลงมือ (ปลูก) เสียที
เมื่อพลิกไปถึงหน้าสุดท้าย เห็นทีจะต้องโยนข้ออ้างที่ว่าไม่มีเวลาไม่มีพื้นที่ ลงกระถางไปได้เลย
สุดท้ายต้องขอแสดงความขอบคุณและความนับถือทุกท่านที่ส่งสวนผักเข้าร่วม โครงการครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นเป็นบุญตาว่าในเมืองที่วุ่นวาย เมืองที่เหลือผืนดินน้อยนิด ยังมีพื้นที่สีเขียวและผู้คนหัวใจสีเขียวอยู่มากมายเพียงใด
สารบัญ
เปิดสวน
สวนผักบ้านทาวน์เฮ้าส์
สวนผักบ้านเดี่ยว
สวนผักดาดฟ้า
สวนผักชุมชน
สวนผักโรงเรียน
โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
เล็กๆ น้อยๆ
ปลูกผักแบบไร้กระบวนท่า
หาเพื่อนร่วมปลูก กูรูแนะนำ
ผู้ส่งสวนผักเข้าร่วมโครงการ
Download http://www.food4change.in.th/download/towngarden.pdfสวนผักบ้านทาวน์เฮ้าส์
สวนผักบ้านเดี่ยว
สวนผักดาดฟ้า
สวนผักชุมชน
สวนผักโรงเรียน
โรงเรียนอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
เล็กๆ น้อยๆ
ปลูกผักแบบไร้กระบวนท่า
หาเพื่อนร่วมปลูก กูรูแนะนำ
ผู้ส่งสวนผักเข้าร่วมโครงการ
VDO clip http://www.food4change.in.th