Ads 468x60px

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

10 ขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต

ใด้พบคลิปนี้จึงนำเอามาฝาก พี่น้องที่ทำนาดำ แต่อาจจะไม่เหมาะกับเมื่องไทยในหลายๆพื้นที่ แต่ศึกษาไว้ 10 ขั้นตอนการเพาะกล้าข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=6015.0 ด้วยความพยายามแปลจากคลิป ด้วยความรู้อันน้อยนิดและใส่ไข่บ้าง ถ้าใครฟังจาคลิปได้ ก็ไม่ต้องอ่าน อะครับ การเตรียมต้นกล้าข้าว 1 Batch ใช้กับพื้นที่ 1 เฮกเตอร์หรือประมาณ 6.25 ไร่ ด้วยการดำ 1 – 2 ต้น ระยะห่างประมาณ 20 ซม. โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. เตรียมเมล็ดพันธ์ข้าวคุณภาพดี 25 กิโลกรัม โดยมีอัตราการงอก 80 % 2. หมักเมล็ดพันธ์ข้าว 24 ชั่วโมง 2.1) นำเมล็ดข้าวที่เตรียมไว้ใส่ถัง แช่น้ำ คัดเอาแกลบทิ้ง 2.2) นำเมล็ดข้าวที่คัดแล้วไปหมักโดยใช้กระสอบป่านชุ่มน้ำและคลุมด้วยกระสอบชุบน้ำอีกชั้น 3. การเตรียมดินสำหรับแผ่นเพาะกล้าต้องการประมาณ 4 คิวบิกเมตร(4 ลูกบาตรเมตร) โดยมีองค์ประกอบดังนี้ ดิน 7 ส่วน + ปุ๋ยคอก 2 ส่วน + แกลบดำ 1 ส่วน นำมาคลุกผสมกัน และลาดน้ำใช้ชุ่ม (เป็นเลน) 4. การเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาด 1 x 10 เมตร โดยใช้แปลงนาทั่วไปที่มีน้ำท่วมขัง โดยยกเป็นแปลงขึ้นให้พ้น เสร็จแล้วปูด้วยใบตองกล้วย 5. นำแบบแผ่นเพาะกล้าวางลงแปลง แล้วน้ำดินผสมที่เตรียมไว้ มาเทลาดลงในแบบให้ทั่วแล้วเกลี่ยให้เสมอกัน (ขนาดแผ่นเพาะกล้า 1 แผ่นเท่ากับ 50 x 30 ซ.ม. ที่เห็นในคลิป 1 กรอบมี 12 แผ่น ) 6. นำเมล็ดข้าวที่หมักไว้มาโรยลงแผ่นเพาะกล้าโดยให้เมล็ดข้าวให้กระจายห่างกัน 1 – 2 ซม. เสร็จแล้วให้รดน้ำดัวยบัวให้ชุ่ม 7. นำแบบเพาะกล้าออก แล้วใช้ใบตองคลุมให้ทั่ว ทำซ้ำ ๆ กันให้เต็มแปลงกล้า 8. รดน้ำแปลง วันละ 2 ครั้ง และปิดใบตองไว้ติดต่อกัน 5 วัน 9. หลังจาก 5 วันแล้ว เปิดใบตองออก แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลง โดยให้ระดับน้ำต่ำกว่าแผ่นเพาะประมาณ 1 ซม. และทำการเร่งการเจริญเติบโตต้นกล้าโดยการรดด้วย ยูเรีย 5 % ( 1.5 กก. / น้ำ 300 ลิตร) 10. เมื่อต้นกล้าอายุ 20 – 25 วัน ก็นำไปปลูกดำได้ ถ้าเราไม่ทำแบบแผ่นเพาะกล้า เราสามารถใช้ก้านกล้วย ทำเป็นแบบได้ ตามคลิป

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

เรือนไม้สักทอง

http://www.ruenmaisakthong.net/home เรือนไม้สักทองหลังที่ 1 เรือนไม้สักทองหลังที่ 2 เรือนไม้สักทองหลังที่ 3 เรือนไม้สักทองหลังที่ 4 ราคาเริ่มต้นที่ 3.2 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 3.2 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.6 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.8 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 5 เรือนไม้สักทองหลังที่ 6 เรือนไม้สักทองหลังที่ 7 เรือนไม้สักทองหลังที่ 8 ราคาเริ่มต้นที่ 9 แสนบาท ราคาเริ่มต้นที่ 12 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.5 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 3.9 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 9 เรือนไม้สักทองหลังที่ 10 เรือนไม้สักทองหลังที่ 11 เรือนไม้สักทองหลังที่ 12 ราคาเริ่มต้นที่ 4.2 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 4.2 แสนบาท ราคาเริ่มต้นที่ 1.9 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 4.9 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 13 เรือนไม้สักทองหลังที่ 14 เรือนไม้สักทองหลังที่ 15 เรือนไม้สักทองหลังที่ 16 ราคาเริ่มต้นที่ 2.2 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 4.5 แสนบาท ราคาเริ่มต้นที่ 1.9 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 1.2 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 17 เรือนไม้สักทองหลังที่ 18 เรือนไม้สักทองหลังที่ 19 เรือนไม้สักทองหลังที่ 20 ราคาเริ่มต้นที่ 3.7 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 3.5 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 3.9 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 3.5 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 21 เรือนไม้สักทองหลังที่ 22 เรือนไม้สักทองหลังที่ 23 เรือนไม้สักทองหลังที่ 24 ราคาเริ่มต้นที่ 4.9 แสนบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.2 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 3.9 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.2 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 25 เรือนไม้สักทองหลังที่ 26 เรือนไม้สักทองหลังที่ 27 เรือนไม้สักทองหลังที่ 28 ราคาเริ่มต้นที่ 1.7 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 4.5แสนบาท ราคาเริ่มต้นที่ 4.9 แสนบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.2 ล้านบาท เรือนไม้สักทองหลังที่ 29 เรือนไม้สักทองหลังที่ 30 เรือนไม้สักทองหลังที่ 31 เรือนไม้สักทองหลังที่ 33 ราคาเริ่มต้นที่ 1.9 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 2.8 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 4.5 ล้านบาท ราคาเริ่มต้นที่ 9.5 แสนบาท วิธีดูไม้สักทองกับไม้สักธรรมดานั้น ให้ดูที่สีสันของเนื้อไม้สักครับ เพราะถ้าเป็นไม้สักทองจะมีลวดลายของเนื้อไม้สวยงาม และมีสีน้ำตาลอมเหลืองทอง ส่วนเรื่องความแข็งแรงนั้นไม้สักทองกับไม้สักชนิดอื่นๆมีความแข็งแรงใกล้เคียงกันครับ ซื่งจากคุณสมบัติที่เด่นๆของไม้สัก คือ ปลวกไม่กิน มีความยืดหดตัวต่ำ สามารถตกแต่งง่าย ทำให้ในปัจจุบันราคาไม้สักทองนั้นสูงเป็นทองคำสมชื่อ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก(แต่ร้านเราราคาไม่แพงเวอร์นะครับ) และคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม้สักทองเริ่มหายากมากขึ้นเรื่อยๆแต่ความต้องการยังมีสูงเหมือนเดิม เพราะคนไทยถือว่าไม้สักเป็นไม้มงคลและยังให้ความภาคภูมิใจแก่ผู้มีไว้ครอบครองอีกด้วย เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่าไม้สักนั้นเป็นไม้ชั้นดีอันดับหนึ่งของโลก การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก หากเกิดรอยคราบเป็นวงที่เฟอร์นิเจอร์ไม้สักให้ใช้กระดาษซับแบบหนาวางทับเหนือรอยคราบเท่านั้น จากนั้นใช้เตารีดที่มีไฟปานกลางนาบซ้ำกันหลายๆ หน จนกว่ารอยนั้นจะหายไป หรือจะใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำมันการบูรถูก็ได้ หากมีรอยหยดของน้ำตาเทียนที่เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ซึ่งแม้จะขูดเทียนออกไปแล้วยังมีรอยอยู่ให้ใช้ผ้าชุบหัวน้ำมันเช็ดถู และขัดซ้ำด้วยน้ำยาชักเงา เช็ดด้วยผ้าสะอาดให้แห้งรอยที่เกิดจากความร้อน ให้ใช้หัวน้ำมันถู แล้วซับให้สะอาดด้วยผ้าแห้งซ้ำๆ กันหลายๆ หนคราบก็จะค่อยๆ หายไป หากเกิดรอยขีดข่วนที่เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำมันชักเงาถู รอยขีดก็จะหายไปคราบเปื้อนจากสี ถ้าสียังไม่แห้งก็แก้ไขเหมือนรอยขีดข่วน แต่ถ้าแห้งแล้วให้ใช้น้ำมันสนชโลมบริเวณคราบนั้นจนกว่าคราบสีจะอ่อนตัวและหลุดไป จากนั้นใช้น้ำมันชักเงาถูให้สะอาด ทั้งนี้การดูแลเฟอร์นิเจอร์ไม้สักต้องอาศัยความพิถีพิถันในการเอาใจใส่ หมั่นเช็ดถูทำความสะอาดและคอยตรวจสอบความผิดปกติหรือรอยคราบต่างๆ ในทันที เพื่อที่จะได้ทำการแก้ไขให้เฟอร์นิเจอร์ไม้สักของคุณสามารถใช้งานได้ตามปกติ มีความสวยงามคงทนคู่บ้านของคุณอย่างคุ้มค่า หน้าต่างไม้สัก หน้าต่างไม้สักเป็นหน้าต่างไม้ที่มีคุณภาพดีจากคุณภาพของไม้สักเอง เพราะว่าไม้สักเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับการสร้างบ้านเรือนในสมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้ไม้สักเริ่มหายากมากขึ้นทำให้ราคาไม้สักยิ่งมีราคาแพงมากขึ้นตามไปด้วย และมีความต้องการมากขึ้นสำหรับคนที่มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง ที่ต้องการนำไม้สักมาประดับตกแต่งบ้านหรืออาคาร สำหรับหน้าต่างไม้สักในปัจจุบันมักถูกผลิตมาจากไม้สักที่มีการปลูกเพื่อค้าไม้สักเอง ไม่ได้เป็นไม้สักป่า แต่ก็มีขนาดพอเหมาะที่จะทำหน้าต่างไม้สักได้ดี หน้าต่างไม้สัก มีคุณลักษณะพิเศษที่ดี คือ มีความแข็งแรงทนทานมาก สามารถใช้งานได้ดี มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่ต้องกังกลปัญหาเกี่ยวกับปลวกมอดกัดเนื้อไม้ หรือแมลงที่จะมารบกวนไม้สักได้ หน้าต่างไม้สักมีสีออกเหลืองน้ำตาลและมีลายไม้ที่สวยงามมากกว่าไม้ชนิดอื่น ทำให้ราคาหน้าต่างไม้สักมีราคาสูงกว่าหน้าต่างไม้ชนิดอื่น ข้อดีอย่างอื่นของหน้าต่างไม้สัก คือ หน้าต่างไม้สักจะมีน้ำหนักเบาเพราะไม้สักเป็นไม้เนื้ออ่อนแต่ถึงอย่างนั้นก็ตามไม้สักนั้นก็ยังมีความสามารถในการรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าหน้าต่างไม้สักนั้นจะมีความสวยงาม แต่การเลือกใช้หน้าต่างไม้สักในบางครั้งยังไม่สามารถนำมาใช้ได้กับบ้านที่ปลูกสร้างตามสมัยใหม่เพราะหน้าต่างไม้สักเองนั้นอาจจะดูไม่เข้ากับตัวบ้านเอาได้ง่ายๆ ยิ่งหากเป็นบ้านที่สร้างด้วยรูปแบบของทางฝั่งตะวันตกยิ่งไม่ควรนำหน้าต่างไม้สักไปใช้เป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รูปลักษณ์ของตัวบ้านเกิดความขัดแย้งได้ง่าย ดูไม่สวยงาม ทั้งนี้คุณอาจเลือกขอรับบริการคำแนะนำคำปรึกษาในการเลือกซื้อหน้าต่างไม้สักหรือการตกแต่งบ้านด้วยไม้สักจากแหล่งซื้อขายไม้สักทั่วไปตามท้องตลาด ได้แก่ ร้านขายไม้สัก บริษัทจำหน่ายไม้สัก ร้านขายพื้นไม้สัก ตัวแทนขายไม้สัก ร้านขายหน้าต่างไม้สัก ร้านรับติดตั้งหน้าต่างไม้สัก ร้านรับปูพื้นไม้สัก ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เป็นต้น จริงหรือไม่ไม้สักปลูกง่ายตายยาก ส่วนใหญ่มักพบว่า การปลูกไม้สักนั้นมักอาศัยการปลูกด้วยเหง้ามากกว่าการปลูกด้วยวิธีอื่นๆ เมื่อไม้สักมีการตั้งตัวติดแล้วนั้น เมื่อมีอะไรมาเหยีบย่ำก็จะไม่ตาย แม้แต่มีหญ้าที่ขึ้นปกคลุมต้นสักก็จะยังคงเจริญเติบโตได้ดีอยู่ แม้อาจพบว่ามีบางส่วนที่โผล่ขึ้นพ้นจากดินถูกศัตรูพืชทำร้ายตาย แต่รากเหง้าของต้นสักที่อยู่ใต้พื้นดินจะยังคงมีชีวิตอยู่ และพร้อมทุกเมื่อที่จะเจริญเติบโตพุ่งแทงขึ้นมาทันที่ที่เริมมีฝนหรือน้ำมาหล่อเลี้ยงแต่ในทางตรงกันข้ามสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มักสวนทางกับการเจริญเติบโตของไม้สัก แม้สักจะเป็นไม้ที่ปลูกง่ายตายยากก็จริงแต่ก็เป็นไม้ที่มีการเจิรญเติบโตช้าอีกด้วย ซึ่งปัจจัยของการเจริญเติบโตของต้นสักนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญหลายประการ ซึ่งอาจมาจากลักษณะของพื้นที่ๆ ใช้ในการเพาะปลูก ตลอดจนคุณภาพของพันธุ์ไม้ที่ใช้ในการเพาะปลูก หากมีการเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูกที่เหมาะสมและพันธุ์ไม้สักที่ทนทานต่อสภาพอากาศที่ใช้ปลูกก็จะยิ่งทำให้ไม่สักตายยาก และเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้นหากได้รับการดูแลอย่างเอาใจใส่ ดังนั้นการเลือกพันธุกรรมของเหง้าสักจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของการปลูกไม้สัก ซึ่งหากคิดที่จะปลูกแล้วก็ต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์เป็นอย่างดี เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูก เพราะในแต่ละพื้นที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านสภาพอากาศ และความอุดมสมบรูณ์ของดิน ปัจจัยควบคุมการเจริญเติบโตของไม้สัก 1. ไม้สักมักเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น หรือมีปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,250-2,500 มิลลิเมตรต่อปี และมีช่วงฤดูแล้ง 3-5เดือน จึงจะทำให้ไม้สักเจริญเติบโตได้ดี 2. ไม้สักจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 27-36 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และ 20-30 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน 3. ไม้สักนั้นเป็นไม้ที่อบแสงสว่าง โดยปริมาณแสงที่เหมาะสมคือ 75-95% ของปริมาณแสงกลางวันที่ได้รับเต็มที่ 4. ไม้สักมักเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ดินมีการระบายน้ำที่ดี และชั้นดินมีความลึกมาก 5. ไม้สักตามธรรมชาติมักขึ้นตามพื้นที่ที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 200-1,000 เมตร การนำไม้สักมาใช้ประโยชน์ ไม้สักนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายรูปแบบ ทั้งในงานก่อสร้างและงานฝีมือประเภทต่างๆ ถึงแม้ไม้สักจะเป็นไม้ที่มีราคาแพง แต่ด้วยความสวยงามของเนื้อไม้ ความสามารถต้านทานแมลง เห็ดรา และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงทำให้ความนิยมในไม้สักยังมีมาอย่างต่อเนื่อง โดยการนำไม้สักไปใช้งานนั้นก็ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของไม้สักเองว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ซึ่งไม้สักที่เป็นไม้ซุงขนาดเล็กนั้นมักจะนำมาสร้างเป็นบ้านไม้ซุงที่มีความคงทนและสวยงาม หรือไม่ก็นำมาทำเป็นวงกบประตูหน้าต่างซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ในขณะที่ไม้สักที่เป็นไม้ซุงขนาดใหญ่นั้น มักจะถูกนำมาสร้างเป็นอาคาร ที่อยู่อาศัย หรือทำเป็นไม้แกะสลักและเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

เปลี่ยนผู้ใช้ปัจจุบัน เป็น Root

http://ubuntuclub.com/node/1229 เปลี่ยนผู้ใช้ปัจจุบัน เป็น Root Posted by teedev on Monday, 12 January 2009 Tag: Article เผอิญผมได้ลง Driver nVidia เวลา่ลงต้องไป Ctrl+Alt+F1~F6 เพื่อเข้าคอนโซลโหมด(เรียกไม่ถูกครับ)แล้ว Login เป็น Root เพื่อที่จะ... /etc/init.d/gdm stop เพื่อปิด Gnome พอลงเสร็จ แทนที่จะเป็น /etc/init.d/gdm start ด้วยความรีบร้อน ผมจึงพิมพ์ startx มันก็เข้า Gnome ให้ สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ.................... !!!ชื่อผู้เข้าใช้เป็น Root!!! เมื่อถึงตอนนี้ คุณก็สามารถจัดการกับระบบได้ทุกอย่างครับ ถ้่าจะกลับ ไป Logout root แล้วเข้าตามปรกติ ------- สำหรับบทความแรกอาจมาแปลกๆหน่อยครับ ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยครับ

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

How to Install a GUI in Ubuntu Server 11.04

ปรับแต่ง Ubuntu Server ให้เป็น GUI Server

ปรับแต่ง Ubuntu Server ให้เป็น GUI Server http://www.oknation.net/blog/itlabour/2009/03/26/entry-1 Posted by กรรมกรไอที , ผู้อ่าน : 19133 , 10:26:37 น. หมวด : วิทยาศาสตร์/ไอที พิมพ์หน้านี้ โหวต 0 คน ตามที่ได้เคยเกริ่นไว้แล้ว Linux ทั้งที่เป็น desktop และ server เหมือนแม่น้ำ 2 สายที่มา จากต้นน้ำแหล่งเดียวกัน (มี linux kernel เหมือนกัน แต่อาจต่าง version) ดังนั้น เราจึงสามารถ - ปรับแต่ง Ubuntu desktop ให้ทำหน้าที่เป็น server ได้ โดยการติดตั้งโปรแกรม (package) ของ server ที่เราต้องการใช้งานลงไป ซึ่งจะทำให้เราได้ server ที่มีสภาพแวดล้อมเป็นแบบ GUI แต่เนื่องจาก desktop ได้มีการติดตั้ง package ไว้จำนวนมาก เพื่อให้เหมาะกับงานทางด้าน desktop อย่างไรก็ตาม หากเราไม่ต้อง package ใดก็สามารถลบออกได้ - ปรับแต่ง Ubuntu server ให้มีสภาพแวดล้อมเป็น GUI โดยเราจะต้องติดตั้ง package ที่ จะต้องใช้งานให้กับ server ด้วย กรณีตัวอย่างนี้เป็นการปรับแต่ง Ubuntu Server 8.10 ให้เป็น GUI Server ก่อนอื่นให้ทำการ update ข้อมูลของ package และ upgrade เจ้า server ของเราให้เป็นปัจจุบัน $ sudo su ใส่ password... # apt-get update # apt-get upgrade # apt-get dist-upgrade ติดตั้ง package สำหรับการบริหารจัดการเกี่ยวกับการ update # apt-get install update-manager ติดตั้ง gnome และ xorg เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมแบบ GUI # apt-get install gnome-core xorg ติดตั้งภาษาไทย # apt-get install language-pack-gnome-th-base language-pack-gnome-th language-support-th language-support-extra-th ติดตั้ง themes สำหรับคนที่ชอบความสวยงาม # apt-get install gnome-themes gnome-themes-extras ติดตั้ง browser firefox # apt-get install firefox ติดตั้ง GUI Network Admin Tool # apt-get install gnome-nettool gnome-network-admin gnome-system-tools ติดตั้งเครื่องมือ Partition Management # apt-get install gparted ntfs-3g ntfs-config libntfs* ติดตั้งเครื่องมือ System Monitor # apt-get install gnome-system-monitor ติดตั้งเครื่องช่วยบริหารจัดการ MySQL Server # apt-get install mysql-admin mysql-gui-tools-common ติดตั้งเครื่องมือช่วยในการ backup (Simple Backup) # apt-get install sbackup เท่านี้เราก็จะได้ server ที่มีสภาพแวดล้อมการทำแบบ gui การทำงานโดยทั่วไป ยังคงทำงานในแบบ text mode เหมือนๆ เดิม เมื่อใดที่เราต้องการเข้าไป ทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ GUI ก็ให้เรียกใช้งานด้วย คำสั่ง startx $ startx ภาพตัวอย่าง Ubuntu GUI Server (บน VMware) ที่ปรับแต่งแล้ว เมื่อออกจาก GUI mode ก็จะกลับสู่ text mode ตามปกติ หมายเหตุ การปรับแต่งเช่นนี้ อาจจะเพิ่มภาระการทำงานของ server แต่ก็ช่วยให้ admin หรือ ผู้สนใจเรียนรู้ซึ่งคุ้นเคยกับการทำงานแบบ Windows server รู้สึกคุ้นเคยและสะดวกมากขึ้นครับ ข้อมูลเพิ่มเติม: [1] https://help.ubuntu.com/8.10/add-applications/C/advanced.html [2] http://manpages.ubuntu.com/manpages/intrepid/en/man8/apt-get.8.html

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

สารพัดพันธุ์ไผ่กับการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม

สารพัดพันธุ์ไผ่กับการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรร http://www.kehakaset.com/index.php/component/content/article/79-information/518-2011-09-20-08-06-41 ม ข้อมูล คุณกฤษณ หอมคง ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงภาคเกษตรกรรม การใช้สอยไม้ไผ่ในภาคครัวเรือน ซึ่งปริมาณการใช้ในประเทศไทย จะใช้ไผ่เพื่อส่งเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล่านี้สูงถึง 200,000 ตัน/ปี หรือประมาณ 20,000,000 ท่อน คิดเป็นรายได้สู่ชาวสวนไผ่มากกว่า 300,000,000 บาทต่อปี ซึ่งมากกว่า 10% เป็นไผ่ที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา โดยเฉพาะกัมพูชา มีการนำเข้ามามากกว่า 20 ปีแล้ว และอีกกว่า 50% เป็นผลผลิตจากป่า (ซึ่งหมดไปทุกวัน) แต่อย่างไรก็ตามการปลูกไผ่ของบ้านเรายังเป็นไปตามกระแส และชาวสวนยังมีความไม่เข้าใจในเรื่องพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ ประกอบกับพื้นที่การปลูกไผ่ของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และหากยังไม่มีการส่งเสริมการปลูกไผ่อย่างจริงจัง ในอนาคตคาดว่าไทยคงต้องนำเข้าไผ่มากกว่า 50% เพื่อนำมาป้อนอุตสาหกรรมเหล่านี้ คุณกฤษณ หอมคง ผู้ค้าไผ่ ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องไผ่ เล่าว่า สถานการณ์ไผ่ในบ้านเราตอนนี้ถือว่าไม่ดีนัก เห็นได้จากการที่ชาวบ้านตัดไม้ไผ่อ่อนมาขาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นไผ่คุณภาพต่ำ ราคาไม่สูง แต่เนื่องจากไผ่ที่ปลูกทั้งในป่า และพื้นที่ทั่วไปมีไม้ไผ่แก่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังกระทบกับตลาดส่งออกไปต่างประเทศ เช่น แถบยุโรป อิสราเอล เยอรมัน ที่นำเข้าไผ่จากประเทศไทย ส่วนใหญ่ต้องการเฉพาะไม้ไผ่แก่ ที่ผ่านการอบมาแล้ว Ž ซึ่งหากเรามีการส่งเสริมให้ปลูกไผ่เพิ่มขึ้นปัญหาเหล่านี้อาจลดลงและยังสามารถส่งออกไผ่แข่งขันกับประเทศจีนได้(แข็งขันในด้านคุณภาพของไม้ไผ่) ถึงแม้ว่าตอนนี้มีกระแสการหันมาปลูกไผ่ แต่ก็ยังมีชาวสวนบางส่วนที่ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก ทำให้เกิดการหลงผิดไปปลูกตามกระแสได้ง่าย คุณกฤษณ หอมคง ผู้คร่ำหวอดในวงการไผ่มามากกว่า 20 ปี สารพัดพันธุ์ไผ่กับการใช้ประโยชน์ ในการเลือกพันธุ์ไผ่มาปลูก คุณกฤษณ แนะนำว่า ปัจจัยหลัก ๆ ที่ควรพิจารณาก่อนการปลูก คือ สภาพพื้นที่ ตลาด และวัตถุประสงค์ อาทิ หากชาวสวนต้องการเลือกปลูกไผ่เพื่อตัดหน่อขาย ดินควรดี มีน้ำดี พันธุ์ที่เลือกปลูกเช่น ไผ่กิมซุ่งหรือไผ่จีนเขียวสมิง พันธุ์ไต้หวัน เพราะเป็นพันธุ์ที่แตกหน่อเร็ว ให้หน่อดก แต่พันธุ์เหล่านี้ยังมีปัญหาในการขายลำอยู่บ้าง เนื่องจากมีการให้ปุ๋ย ทำให้เนื้อไม้ไม่แน่น (ตลาดที่มีความต้องการความแข็งแรงของลำไม้ไผ่) และลำต้นไม่ค่อยตรง แต่ยังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่น่าปลูกเพราะขายได้ทั้งหน่อและลำ เช่นไผ่ตง ไผ่ซางหม่น เป็นต้น ส่วนชาวสวนที่ต้องการตัดลำขายจะมีพันธุ์ให้เลือกหลากหลาย ดังนี้ ไผ่ซางหม่น เป็นไผ่ลำต้นตรงเบา เสี้ยนละเอียด เนื้อหนา โตเร็ว เหมาะกับการนำมาใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน และส่งเข้าโรงงานทำไม้พื้น เพราะเป็นไผ่ที่ใช้กับเครื่องจักรได้ พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก สามารถปลูกได้ทั่วไป แนะนำอย่างแถบ ปราจีนบุรี นครนายก อีกทั้งพื้นที่แถบนี้ยังมีโรงงานคอยรองรับผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรขายได้ราคาเพราะลดค่าขนส่งได้มาก สำหรับพันธุ์ที่แนะนำคือ ไผ่ซางหม่นราชินี ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม จัดเป็นพันธุ์ไผ่ที่ขาดแคลน เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนงมาก เหมาะกับการนำมาใช้ทำนั่งร้านทาสี ทำเสาเข็ม ทำข้าวหลาม เฉพาะที่ตลาดหนองมน จ.ชลบุรี นำเข้าไผ่หนามจากประเทศกัมพูชาเดือนละ 10  30 คันรถบรรทุกสิบล้อ หรือประมาณ 25,000 ท่อน ซึ่งไผ่หนามเป็นไผ่ที่น่าส่งเสริมให้มีการปลูกอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นไผ่ที่ใช้ประโยชน์ได้ในหลายอุตสาหกรรมและยังเป็นไผ่ที่ทนเค็มได้ดี เหมาะกับการนำมาทำเป็นเสาเข็มที่ต้องจมอยู่ในน้ำทะเล นอกจากนี้ลำไผ่หนาม 1 ต้นสามารถแบ่งการใช้ประโยชน์ได้ 2 ท่อน คือท่อนบนตัดเพื่อขายสู่ตลาดที่ต้องการลำ ส่วนโคนเลี้ยงไว้อีก 1 ปี แล้วตัดขายทำเสาเข็ม ไผ่รวก , ไผ่เลี้ยง ลำต้นตรงขนาดเล็ก นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประมง ไม้ค้ำยัน ไม้ใช้สอยในภาคการเกษตร และเป็นไผ่ส่งออก ไผ่รวกที่มีคุณภาพดี คือไผ่รวกสายพันธุ์น่าน เพราะเป็นพันธุ์ที่เนื้อหนา ข้อสั้น มีอายุการใช้งานนาน ไผ่รวกเป็นไผ่ที่มีปริมาณการใช้งานมากที่สุดในบรรดาพันธุ์ไผ่ต่าง ๆ เฉพาะที่คุณกฤษณรับซื้อเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประมงก็สูงถึง 3,000 ตันต่อปี ไผ่ตง มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงเขียง ไผ่ตงหนู ไผ่ตงดำ เป็นไผ่ที่สามารถจำหน่ายได้ทั้งหน่อและลำ เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะหน่อสามารถนำมาดองได้ ลำไม้ก็ยังมีความแข็งแรง มีเนื้อไม้หนา บางชนิดมีลำต้นขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 -7 นิ้ว ในขณะนี้ตลาดมีความต้องการไผ่ที่มีขนาดใหญ่ และมีความแข็งแรง เป็นจำนวนมาก จึงแนะนำให้ปลูกพันธุ์ ไผ่ตงหม้อ เพราะลำมีขนาดใหญ่ มีความแข็งแรง เป็นที่ต้องการของตลาด ด้านอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมประมง และอุตสาหกรรมไม้พื้น เป็นต้น ในหนึ่ง ๆ ปีคุณกฤษณจะรับซื้อไผ่เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมประมงสูงถึง 3,000 ตันหรือ 100 คันรถบรรทุก ประโยชน์จากไผ่ได้มากกว่าที่คิด จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของพันธุ์ไผ่ที่แนะนำให้ปลูกเป็นการค้า แต่อย่างไรก็ตามการปลูกไผ่เป็นการค้ายังพบน้อยมากในประเทศไทยเนื่องจากรายได้จากการขายไผ่เป็นจำนวนเงินที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 5,000-6,000 บาทต่อไร่ และจะมีรายได้ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป แต่ถ้ามองในแง่อื่นจะพบว่าไผ่มีข้อดีมากมาย ทั้งการที่ไม่ต้องการการดูแลรักษา สามารถปลูกในพื้นที่แห้งแล้งได้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก ลดปัญหาโลกร้อน และไผ่มีความยืดหยุ่นต่อตลาดสูง (คือสามารถชะลอการขายได้ถึง 5 ปี ลดปัญหาการกดราคาจากพ่อค้าได้) นอกจากนี้อีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่สนใจการปลูกไผ่ คือ การปลูกเป็นหัวไร่ปลายนา ซึ่งเลือกปลูกครอบครัวละ 1 ไร่ ใน 1 หมู่บ้านปลูกประมาณ 5 ไร่ ก็เพียงพอสำหรับการที่พ่อค้าไผ่เข้าไปรับซื้อ (ได้ไผ่ประมาณ 30 ตัน หรือ 1 คันรถบรรทุก) คุณกฤษณ หอมคงกล่าวปิดท้ายถึงอนาคตของไผ่ว่า ต่อไปพื้นที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการปลูกไผ่คือพื้นที่ที่ใกล้ตลาดของไผ่นั้น ๆ เพราะในอนาคตเมื่อต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นพ่อค้าไผ่คงต้องเลิกรากันไป ซึ่งจะเป็นการดีกับผู้ปลูก เพราะผู้ใช้ไม้ไผ่จะเข้าไปรับซื้อวัตถุดิบด้วยตนเอง ทำให้ขายไผ่ได้ในราคาที่สูงขึ้นŽ ไผ่รวกเป็นไผ่ที่มีปริมาณการใช้สูงที่สุดในบรรดาพันธุ์ไผ่ต่าง ๆ ไผ่ซางหม่น เป็นพันธุ์ที่มีเหมาะกับการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ และเข้าโรงงานทำไม้พื้น ตลาดข้าวหลามหนองมนจะใช้ไผ่หนามเพื่อนำมาทำปล้องข้าวหลามประมาณ 25,000 ท่อนต่อเดือน