Ads 468x60px

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

สารพัดพันธุ์ไผ่กับการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม

สารพัดพันธุ์ไผ่กับการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรร http://www.kehakaset.com/index.php/component/content/article/79-information/518-2011-09-20-08-06-41 ม ข้อมูล คุณกฤษณ หอมคง ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงภาคเกษตรกรรม การใช้สอยไม้ไผ่ในภาคครัวเรือน ซึ่งปริมาณการใช้ในประเทศไทย จะใช้ไผ่เพื่อส่งเข้าสู่อุตสาหกรรมเหล่านี้สูงถึง 200,000 ตัน/ปี หรือประมาณ 20,000,000 ท่อน คิดเป็นรายได้สู่ชาวสวนไผ่มากกว่า 300,000,000 บาทต่อปี ซึ่งมากกว่า 10% เป็นไผ่ที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา โดยเฉพาะกัมพูชา มีการนำเข้ามามากกว่า 20 ปีแล้ว และอีกกว่า 50% เป็นผลผลิตจากป่า (ซึ่งหมดไปทุกวัน) แต่อย่างไรก็ตามการปลูกไผ่ของบ้านเรายังเป็นไปตามกระแส และชาวสวนยังมีความไม่เข้าใจในเรื่องพันธุ์ไผ่ที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ ประกอบกับพื้นที่การปลูกไผ่ของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และหากยังไม่มีการส่งเสริมการปลูกไผ่อย่างจริงจัง ในอนาคตคาดว่าไทยคงต้องนำเข้าไผ่มากกว่า 50% เพื่อนำมาป้อนอุตสาหกรรมเหล่านี้ คุณกฤษณ หอมคง ผู้ค้าไผ่ ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องไผ่ เล่าว่า สถานการณ์ไผ่ในบ้านเราตอนนี้ถือว่าไม่ดีนัก เห็นได้จากการที่ชาวบ้านตัดไม้ไผ่อ่อนมาขาย ทั้งที่รู้ว่าเป็นไผ่คุณภาพต่ำ ราคาไม่สูง แต่เนื่องจากไผ่ที่ปลูกทั้งในป่า และพื้นที่ทั่วไปมีไม้ไผ่แก่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังกระทบกับตลาดส่งออกไปต่างประเทศ เช่น แถบยุโรป อิสราเอล เยอรมัน ที่นำเข้าไผ่จากประเทศไทย ส่วนใหญ่ต้องการเฉพาะไม้ไผ่แก่ ที่ผ่านการอบมาแล้ว Ž ซึ่งหากเรามีการส่งเสริมให้ปลูกไผ่เพิ่มขึ้นปัญหาเหล่านี้อาจลดลงและยังสามารถส่งออกไผ่แข่งขันกับประเทศจีนได้(แข็งขันในด้านคุณภาพของไม้ไผ่) ถึงแม้ว่าตอนนี้มีกระแสการหันมาปลูกไผ่ แต่ก็ยังมีชาวสวนบางส่วนที่ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก ทำให้เกิดการหลงผิดไปปลูกตามกระแสได้ง่าย คุณกฤษณ หอมคง ผู้คร่ำหวอดในวงการไผ่มามากกว่า 20 ปี สารพัดพันธุ์ไผ่กับการใช้ประโยชน์ ในการเลือกพันธุ์ไผ่มาปลูก คุณกฤษณ แนะนำว่า ปัจจัยหลัก ๆ ที่ควรพิจารณาก่อนการปลูก คือ สภาพพื้นที่ ตลาด และวัตถุประสงค์ อาทิ หากชาวสวนต้องการเลือกปลูกไผ่เพื่อตัดหน่อขาย ดินควรดี มีน้ำดี พันธุ์ที่เลือกปลูกเช่น ไผ่กิมซุ่งหรือไผ่จีนเขียวสมิง พันธุ์ไต้หวัน เพราะเป็นพันธุ์ที่แตกหน่อเร็ว ให้หน่อดก แต่พันธุ์เหล่านี้ยังมีปัญหาในการขายลำอยู่บ้าง เนื่องจากมีการให้ปุ๋ย ทำให้เนื้อไม้ไม่แน่น (ตลาดที่มีความต้องการความแข็งแรงของลำไม้ไผ่) และลำต้นไม่ค่อยตรง แต่ยังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่น่าปลูกเพราะขายได้ทั้งหน่อและลำ เช่นไผ่ตง ไผ่ซางหม่น เป็นต้น ส่วนชาวสวนที่ต้องการตัดลำขายจะมีพันธุ์ให้เลือกหลากหลาย ดังนี้ ไผ่ซางหม่น เป็นไผ่ลำต้นตรงเบา เสี้ยนละเอียด เนื้อหนา โตเร็ว เหมาะกับการนำมาใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน และส่งเข้าโรงงานทำไม้พื้น เพราะเป็นไผ่ที่ใช้กับเครื่องจักรได้ พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูก สามารถปลูกได้ทั่วไป แนะนำอย่างแถบ ปราจีนบุรี นครนายก อีกทั้งพื้นที่แถบนี้ยังมีโรงงานคอยรองรับผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรขายได้ราคาเพราะลดค่าขนส่งได้มาก สำหรับพันธุ์ที่แนะนำคือ ไผ่ซางหม่นราชินี ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม จัดเป็นพันธุ์ไผ่ที่ขาดแคลน เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามและแขนงมาก เหมาะกับการนำมาใช้ทำนั่งร้านทาสี ทำเสาเข็ม ทำข้าวหลาม เฉพาะที่ตลาดหนองมน จ.ชลบุรี นำเข้าไผ่หนามจากประเทศกัมพูชาเดือนละ 10  30 คันรถบรรทุกสิบล้อ หรือประมาณ 25,000 ท่อน ซึ่งไผ่หนามเป็นไผ่ที่น่าส่งเสริมให้มีการปลูกอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นไผ่ที่ใช้ประโยชน์ได้ในหลายอุตสาหกรรมและยังเป็นไผ่ที่ทนเค็มได้ดี เหมาะกับการนำมาทำเป็นเสาเข็มที่ต้องจมอยู่ในน้ำทะเล นอกจากนี้ลำไผ่หนาม 1 ต้นสามารถแบ่งการใช้ประโยชน์ได้ 2 ท่อน คือท่อนบนตัดเพื่อขายสู่ตลาดที่ต้องการลำ ส่วนโคนเลี้ยงไว้อีก 1 ปี แล้วตัดขายทำเสาเข็ม ไผ่รวก , ไผ่เลี้ยง ลำต้นตรงขนาดเล็ก นิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประมง ไม้ค้ำยัน ไม้ใช้สอยในภาคการเกษตร และเป็นไผ่ส่งออก ไผ่รวกที่มีคุณภาพดี คือไผ่รวกสายพันธุ์น่าน เพราะเป็นพันธุ์ที่เนื้อหนา ข้อสั้น มีอายุการใช้งานนาน ไผ่รวกเป็นไผ่ที่มีปริมาณการใช้งานมากที่สุดในบรรดาพันธุ์ไผ่ต่าง ๆ เฉพาะที่คุณกฤษณรับซื้อเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประมงก็สูงถึง 3,000 ตันต่อปี ไผ่ตง มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงเขียง ไผ่ตงหนู ไผ่ตงดำ เป็นไผ่ที่สามารถจำหน่ายได้ทั้งหน่อและลำ เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะหน่อสามารถนำมาดองได้ ลำไม้ก็ยังมีความแข็งแรง มีเนื้อไม้หนา บางชนิดมีลำต้นขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 -7 นิ้ว ในขณะนี้ตลาดมีความต้องการไผ่ที่มีขนาดใหญ่ และมีความแข็งแรง เป็นจำนวนมาก จึงแนะนำให้ปลูกพันธุ์ ไผ่ตงหม้อ เพราะลำมีขนาดใหญ่ มีความแข็งแรง เป็นที่ต้องการของตลาด ด้านอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมประมง และอุตสาหกรรมไม้พื้น เป็นต้น ในหนึ่ง ๆ ปีคุณกฤษณจะรับซื้อไผ่เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมประมงสูงถึง 3,000 ตันหรือ 100 คันรถบรรทุก ประโยชน์จากไผ่ได้มากกว่าที่คิด จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของพันธุ์ไผ่ที่แนะนำให้ปลูกเป็นการค้า แต่อย่างไรก็ตามการปลูกไผ่เป็นการค้ายังพบน้อยมากในประเทศไทยเนื่องจากรายได้จากการขายไผ่เป็นจำนวนเงินที่ไม่สูงมากนัก ประมาณ 5,000-6,000 บาทต่อไร่ และจะมีรายได้ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป แต่ถ้ามองในแง่อื่นจะพบว่าไผ่มีข้อดีมากมาย ทั้งการที่ไม่ต้องการการดูแลรักษา สามารถปลูกในพื้นที่แห้งแล้งได้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก ลดปัญหาโลกร้อน และไผ่มีความยืดหยุ่นต่อตลาดสูง (คือสามารถชะลอการขายได้ถึง 5 ปี ลดปัญหาการกดราคาจากพ่อค้าได้) นอกจากนี้อีกหนึ่งทางเลือกของผู้ที่สนใจการปลูกไผ่ คือ การปลูกเป็นหัวไร่ปลายนา ซึ่งเลือกปลูกครอบครัวละ 1 ไร่ ใน 1 หมู่บ้านปลูกประมาณ 5 ไร่ ก็เพียงพอสำหรับการที่พ่อค้าไผ่เข้าไปรับซื้อ (ได้ไผ่ประมาณ 30 ตัน หรือ 1 คันรถบรรทุก) คุณกฤษณ หอมคงกล่าวปิดท้ายถึงอนาคตของไผ่ว่า ต่อไปพื้นที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการปลูกไผ่คือพื้นที่ที่ใกล้ตลาดของไผ่นั้น ๆ เพราะในอนาคตเมื่อต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นพ่อค้าไผ่คงต้องเลิกรากันไป ซึ่งจะเป็นการดีกับผู้ปลูก เพราะผู้ใช้ไม้ไผ่จะเข้าไปรับซื้อวัตถุดิบด้วยตนเอง ทำให้ขายไผ่ได้ในราคาที่สูงขึ้นŽ ไผ่รวกเป็นไผ่ที่มีปริมาณการใช้สูงที่สุดในบรรดาพันธุ์ไผ่ต่าง ๆ ไผ่ซางหม่น เป็นพันธุ์ที่มีเหมาะกับการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ และเข้าโรงงานทำไม้พื้น ตลาดข้าวหลามหนองมนจะใช้ไผ่หนามเพื่อนำมาทำปล้องข้าวหลามประมาณ 25,000 ท่อนต่อเดือน

0 ความคิดเห็น: