http://emap.wordpress.com/category/tutorial/
Ubuntu GIS II:Install GIS Desktop
Posted on by pkgis2007
Reply
______ช่วงนี้ยอมรับว่าไม่ค่อยมีเวลาเขียน blog ซะเท่าไหร่ด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลาและสุขภาพ เนื่องจากปัญหาสุขภาพเมื่อตอนต้นปีทำให้ต้องปรับชีวิตและเวลาทำงานกันใหม่ แต่ด้วยเวลาที่มีจำกัดก็เลยให้ต้องใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือถ้าเรามานั่งวางแผนการใช้เวลาจริงๆเราจะทราบได้ ทันทีว่า ในหนึ่งวันเราใช้เวลาทิ้งไปกับการทำเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มากเท่าไหร่ ซึ่งเรื่องเหล่านั้นก็เป๋นเรื่องที่เน้นไปที่ความบันเทิงและความสนุกสนานซะ เป็นส่วนมาก ผมคงไม่เถียงว่าต้องสนุกกับชีวิตแต่แน่นอนว่าต้องอยู่ในกรอบความพอดีด้วย และที่สำคัญเวลาที่เรามักจะละเลยคือเวลาที่ให้กับครอบครัว การได้ทำกิจกรรมในครอบครัวผมว่าสำคัญมากที่สุด การกินข้าวร่วมกันกับครอบครัว น่าจะสำคัญกว่าการไปกินเลี้ยงวันเกิดเพื่อนร่วมงานมากเป็นไหนๆ ด้วยเวลาที่มีน้อยลงการบริหารจัดการเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ผมเปลี่ยนจากการ work hard เป็น work smart
การ work smart เป็นการทำงานที่มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญ ไม่ใช่หมายความว่าต้องไปเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้อง ปล่อยให้เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องทำงานหนักนั้นก็ไม่ถูก แท้จริงแล้วคือการจัดลำดับความสำคัญและเวลา ทำงานให้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถวางแผนคราวๆได้จาก ตารางเมทริกซ์ข้างล่างครับ โดยนิยามงานที่ได้รับเข้ามา ให้อยู่ในช่องบนตาราง ซึ่งการกำหนดแต่ละงานก็จะขึ้นอยู่กับมุมมอง นโยบายและช่วงเวลาของผู้กำหนด ที่สำคัญถ้าเรานำแผนที่กำหนดไปให้คนอื่นๆดู แน่นอนว่าแต่ละคนอาจจะมีมุมมองในการจัดลำดับความสำคัญของงานไม่เหมือนกัน หลักการการใช้ตารางแผนที่วางไว้ก็คือพยายามทำงานที่สำคัญที่สุดและเร่งด่วน ที่สุดให้เสร็จก่อน(A1)และ ค่อยๆไล่ทำงานที่มีลำดับความสำคัญและเวลาลองลงมา ที่สำคัญอย่าพยายามไปเสียเวลากับงานที่ไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญ(C1)เพราะมัน เป็นการสูญเสียทรัพยากรเวลาของเรา ที่สำคัญต้องแยกแยะให้ออกว่าบางครั้งงานที่สำคัญ อาจจะไม่ใช่งานที่เร่งด่วนเสมอไป เช่น งาน: ประชุมงานกับลูกค้ารายใหญ่ กับ การพาคุณแม่ไปโรงพยาบาล ในมุมมองของคนทำงานการประชุมย่อมสำคัญ แต่ต้องไม่ลืมว่า การบริหารจัดการเวลา เรากำลังมองกรอบของชีวิต นั้นหมายถึงอะไรที่มากกว่างาน ความสำคัญหมายถึงความสำคัญต่อชีวิตเรา หลายคนมักบอกว่าทุกอย่างสำคัญหมด เร่งด่วนหมดถ้าเป็นเรื่องงาน อันนั้นก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จทั้งเรื่องงานและเรื่องการใช้ชีวิต จึงจำเป็นที่ต้องสร้างสมดุลในการบริหารเวลาให้ได้ดีที่สุด (ทั้งหมดนี้สรุปมาจากหนังสือเรื่องการบริหารจัดการเวลา และหนังสือธรรมะหลายๆเล่ม) ที่เขียนเรื่องนี้เพราะจากประสบการณ์ในการอ่านหนังสือพวกอรรถชีวะประวัติของ คนสำคัญ หรือหนังสือการบริหารจัดการ ล้วนให้ความสำคัญ กับเรื่องการบริหารจัดการเวลาทั้งสิ้น ผมเลยอยากนำมาถ่ายทอดหวัง
________กลับมาที่เรื่องราวของ GIS ช่วงนี้ผมเขียน blog แนว tutorial มากกว่าการ update ข่าวเทคโนโลยีและเทคนิคเพราะว่ามี feedback จากคนอ่านกลุ่มหนึ่งที่แนะนำว่า การเขียนเรื่องอะไรที่ใหม่ๆมากๆจะเกิดประโยชน์ต่อคนส่วนน้อย เพราะคนส่วนมากไม่ได้ตามเทคโนโลยี ประโยชน์ตกไปกับกลุ่มของนักพัฒนา โปรแกรม และผู้บริหารที่หาเทคโนโลยีมาขาย ดังนั้นผมเลยพยายามลดเรื่องเหล่านั้นลงและหันมาเขียนอะไรที่เป็นพื้นฐานบ้าง ผสมกันไปเพื่อให้ได้ประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม แต่ concept คงเดิมครับคือ ผมเน้นที่ IDEA มากกว่าการสอนโดยละเอียด อยากให้เกิดการนำไปใช้และค้นคว่าต่อยอด มากกว่าการทำออกมาเป็นแบบสำเร็จรูปเพราะด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมคงไม่สามารถทำให้ละเอียดเป็นเอกสารอบรมแบบที่หลายๆแห่งทำกัน ที่น่าดีใจคือหลายเรื่องใน blog สามารถเป็นต้นร่างให้คนเก่งๆที่ทำงานด้านฝึกอบรมเอาไปใช้พัฒนาเอกสารเพื่อ ถ่ายทอดความรู้ต่อไปได้ วันนี้จะมาเขียน Ubuntu GIS II ที่เน้นไปที่ Desktop GIS ว่าด้วยเรื่องการติดตั้ง โปรแกรมหลายตัวหลายท่านเคยใช้งานบน windows มาแล้ว และถ้าจะ เปลี่ยนจาก window user มาเป็น Linux user เพื่อเป็น Opensource เต็มตัว ก็จะสามารถติดตั้งระบบ GIS ได้ โดยผมจะสอนวิธีติดตั้งโปรแกรม Desktop GIS สองตัวคือ GRASS GIS (Professional GIS Workstation) และ QGIS (Desktop GIS) บน Ubuntu Desktop 9 ครับ
QGIS
1. ทำการติดตั้ง qgis+gpsbabel(GPS tools) แบบ debian package
sudo apt-get install qgis qgis-plugin-grass gpsbabel
2. พิมพ์ Y เพื่อทำการ download และติดตั้งบนเครื่อง
1. ทำการติดตั้ง Grass Package บนเครื่อง โดยใช้คำสั่งดังนี้ครับ
sudo apt-get install qgis grass
2. ทำตามขั้นตอนด้านบน และทดลองเรียก Grass ขึ้นมาใช้งานด้วยคำสั่ง Grass
การ work smart เป็นการทำงานที่มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญ ไม่ใช่หมายความว่าต้องไปเอาเปรียบเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้อง ปล่อยให้เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องทำงานหนักนั้นก็ไม่ถูก แท้จริงแล้วคือการจัดลำดับความสำคัญและเวลา ทำงานให้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถวางแผนคราวๆได้จาก ตารางเมทริกซ์ข้างล่างครับ โดยนิยามงานที่ได้รับเข้ามา ให้อยู่ในช่องบนตาราง ซึ่งการกำหนดแต่ละงานก็จะขึ้นอยู่กับมุมมอง นโยบายและช่วงเวลาของผู้กำหนด ที่สำคัญถ้าเรานำแผนที่กำหนดไปให้คนอื่นๆดู แน่นอนว่าแต่ละคนอาจจะมีมุมมองในการจัดลำดับความสำคัญของงานไม่เหมือนกัน หลักการการใช้ตารางแผนที่วางไว้ก็คือพยายามทำงานที่สำคัญที่สุดและเร่งด่วน ที่สุดให้เสร็จก่อน(A1)และ ค่อยๆไล่ทำงานที่มีลำดับความสำคัญและเวลาลองลงมา ที่สำคัญอย่าพยายามไปเสียเวลากับงานที่ไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญ(C1)เพราะมัน เป็นการสูญเสียทรัพยากรเวลาของเรา ที่สำคัญต้องแยกแยะให้ออกว่าบางครั้งงานที่สำคัญ อาจจะไม่ใช่งานที่เร่งด่วนเสมอไป เช่น งาน: ประชุมงานกับลูกค้ารายใหญ่ กับ การพาคุณแม่ไปโรงพยาบาล ในมุมมองของคนทำงานการประชุมย่อมสำคัญ แต่ต้องไม่ลืมว่า การบริหารจัดการเวลา เรากำลังมองกรอบของชีวิต นั้นหมายถึงอะไรที่มากกว่างาน ความสำคัญหมายถึงความสำคัญต่อชีวิตเรา หลายคนมักบอกว่าทุกอย่างสำคัญหมด เร่งด่วนหมดถ้าเป็นเรื่องงาน อันนั้นก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จทั้งเรื่องงานและเรื่องการใช้ชีวิต จึงจำเป็นที่ต้องสร้างสมดุลในการบริหารเวลาให้ได้ดีที่สุด (ทั้งหมดนี้สรุปมาจากหนังสือเรื่องการบริหารจัดการเวลา และหนังสือธรรมะหลายๆเล่ม) ที่เขียนเรื่องนี้เพราะจากประสบการณ์ในการอ่านหนังสือพวกอรรถชีวะประวัติของ คนสำคัญ หรือหนังสือการบริหารจัดการ ล้วนให้ความสำคัญ กับเรื่องการบริหารจัดการเวลาทั้งสิ้น ผมเลยอยากนำมาถ่ายทอดหวัง
________กลับมาที่เรื่องราวของ GIS ช่วงนี้ผมเขียน blog แนว tutorial มากกว่าการ update ข่าวเทคโนโลยีและเทคนิคเพราะว่ามี feedback จากคนอ่านกลุ่มหนึ่งที่แนะนำว่า การเขียนเรื่องอะไรที่ใหม่ๆมากๆจะเกิดประโยชน์ต่อคนส่วนน้อย เพราะคนส่วนมากไม่ได้ตามเทคโนโลยี ประโยชน์ตกไปกับกลุ่มของนักพัฒนา โปรแกรม และผู้บริหารที่หาเทคโนโลยีมาขาย ดังนั้นผมเลยพยายามลดเรื่องเหล่านั้นลงและหันมาเขียนอะไรที่เป็นพื้นฐานบ้าง ผสมกันไปเพื่อให้ได้ประโยชน์กับคนทุกกลุ่ม แต่ concept คงเดิมครับคือ ผมเน้นที่ IDEA มากกว่าการสอนโดยละเอียด อยากให้เกิดการนำไปใช้และค้นคว่าต่อยอด มากกว่าการทำออกมาเป็นแบบสำเร็จรูปเพราะด้วยข้อจำกัดเรื่องเวลา ผมคงไม่สามารถทำให้ละเอียดเป็นเอกสารอบรมแบบที่หลายๆแห่งทำกัน ที่น่าดีใจคือหลายเรื่องใน blog สามารถเป็นต้นร่างให้คนเก่งๆที่ทำงานด้านฝึกอบรมเอาไปใช้พัฒนาเอกสารเพื่อ ถ่ายทอดความรู้ต่อไปได้ วันนี้จะมาเขียน Ubuntu GIS II ที่เน้นไปที่ Desktop GIS ว่าด้วยเรื่องการติดตั้ง โปรแกรมหลายตัวหลายท่านเคยใช้งานบน windows มาแล้ว และถ้าจะ เปลี่ยนจาก window user มาเป็น Linux user เพื่อเป็น Opensource เต็มตัว ก็จะสามารถติดตั้งระบบ GIS ได้ โดยผมจะสอนวิธีติดตั้งโปรแกรม Desktop GIS สองตัวคือ GRASS GIS (Professional GIS Workstation) และ QGIS (Desktop GIS) บน Ubuntu Desktop 9 ครับ
QGIS
1. ทำการติดตั้ง qgis+gpsbabel(GPS tools) แบบ debian package
sudo apt-get install qgis qgis-plugin-grass gpsbabel
2. พิมพ์ Y เพื่อทำการ download และติดตั้งบนเครื่อง
3. ทดลองเรียก application ขึ้นมาเพื่อใช้งาน พิมพ์ qgis ที่ terminal หรือไปที่เมนู Application >> Science และเรียก qgis ก็ได้ครับ
ตัวอย่างการพิมพ์คำสั่งเพื่อเรียกใช้งานโปรแกรม
4. ทดลองใช้งานโดยทำการ Add ข้อมูล Vector File เข้ามาที่โปรแกรม qgis
เลือก file vector ที่อยู่บน directory ของ linux (มือใหม่แนะนำให้เรียกรู้วิธีการจัดการและเก็บข้อมูลบน Linux ก่อนนะครับ เพราะค่อนข้างต่างกับ Windows ที่ไม่ใช่มีอะไรก็จะยัดใน C: อย่างเดียว)
ผลลัพธ์ข้อมูล vector บน qgis
GRASS GIS1. ทำการติดตั้ง Grass Package บนเครื่อง โดยใช้คำสั่งดังนี้ครับ
sudo apt-get install qgis grass
2. ทำตามขั้นตอนด้านบน และทดลองเรียก Grass ขึ้นมาใช้งานด้วยคำสั่ง Grass
3. ทดสอบการทำงานด้วย การทดลอง import file ในรูปแบบ vector (.shp ) เข้าสู่ Grass Database
add map เข้า map display เพื่อแสดงข้อมูล
_______นำไปทดลองใช้งานดูได้นะครับ สำหรับท่านที่อยากจะเป็น opensource เต็มตัวใช้ทั้ง OS และ GIS software แต่จะเห็นได้ว่า ubuntu นั้นช่วยในเรื่องการติดตั้งโปรแกรมให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าอยากจะทำลอง compile source code เองก็ไม่ยากทำได้ผ่านทาง terminal ของ ubuntu ได้เลย สะดวกและง่ายกว่าไป complie และ make บน window มากมายครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
-