Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ซื้อไม้สักจากที่ดินที่มีการขออนุญาตปลูกและนำมาแปรรูป จะผิดกฏหมายหรือไม่อย่างไร

http://www.thaijudge.com/index.php?PHPSESSID=b3b1272962ba110c812e83492b838a8e&topic=615.msg4576#msg4576
ซื้อไม้สักจากที่ดินที่มีการขออนุญาตปลูก และเวลาตัดและขนย้ายก็ได้ทำเรื่องขออนุญาตเรียบร้อย และนำไม้มาแปรรูปและเก็บไว้ในบ้านไม้อีกส่วนหนึ่งยังไม้ได้แปรรูปก็เก็บกองรวมไว้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจสอบบอกว่ามีคนแจ้งเข้าไปให้มาตรวจสอบและบอกว่าให้ขนไม้ออกไปจากบ้านไม่งั้นจะมีความผิดอยากถามว่ากรณีที่กล่าวมาข้างต้นจะผิดกฎหมายหรือไม่และควรทำอย่างไร

...พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔
...ม.๔๘ ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ มีไม้สักแปรรูปไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต
...ม.๕๐ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๘ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การกระทำเพียงเลื่อย ตัด ลิด ขุด หรือถากซ้อมไม้ เพื่อทำเป็นซุงท่อน ไม้ เหลี่ยมโกลน มาดเรือโกลน เสาถาก หรือหมอนรถ หรือเพื่อทำไม้ฟืน หรือทำไม้เผาถ่าน หรือเลื่อยผ่าเพียงเพื่อความจำเป็นในการชักลาก ในเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำไม้ให้กระทำการนั้นๆ ได้ และผู้รับอนุญาตได้กระทำการนั้นๆ ก่อนนำไม้เคลื่อนที่จากบริเวณตอไม้
(๒) การแปรรูปไม้ที่แปรรูปมาแล้วจากไม้ซุงหรือไม้ท่อน ที่มิใช่เพื่อการค้า
(๓) การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่เพื่อการค้า โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้
(๔) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม
(๕) การแปรรูปไม้โดยใช้แรงคนที่มิใช่เพื่อการค้า จากไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปรรูป โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้

...ถ้าการตัด และการขนย้าย ได้รับอนุญาตตามกฎหมายแล้ว การแปรรูปไม้สัก และการมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครอง น่าจะได้รับการยกเว้น ตาม ม.๕๐ (๓)(๕) เว้นแต่ การแปรรูปไม้สักโดยการใช้เครื่องจักร ไม่ได้ใช้แรงคน หรือใช้แรงงานคนแต่เป็นการแปรรูปไม้สักเพื่อการค้า ซึ่งจะต้องขออนุญาตแปรรูปไม้ ตาม ม.๔๘ ถ้าไม่ขออนุญาตแปรรูปไม้ก็ผิด ม.๔๘ แม้ตัด และการขนย้าย ไม้สักดังกล่าว จะได้รับอนุญาตก็ตาม
...เพื่อความชัดเจน น่าจะไปปรึกษากับทาง จนท.ป่าไม้ เป็นการดีที่สุด 





ขอเสริมในส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณ chaya  นะครับ

         ไม้สัก  ซึ่งขึ้นอยู่ในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา ๗ กำหนดว่าเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะอยู่ในเขตป่าไม้ หรือในที่ดินของเอกชน    การทำไม้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้าม และมีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ป่าไม้  มีลักษณะดังนี้  ตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่า ด้วยประการใดๆ และรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สัก ที่ขึ้นอยู่ในที่ดิน ที่ไม่ใช่ป่า หรือการนำไม้สักออกจากที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย

        นอกจากการทำไม้แล้ว กฎหมายยังห้ามการเจาะ หรือสับ หรือเผา หรือการทำอันตรายแก่ไม้หวงห้ามอีกด้วย ทั้งนี้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ต้องมีโทษทางอาญา

       การนำไม้เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  กฎหมายควบคุมการนำ  เคลื่อนที่ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทั้งนี้โดยการที่ราษฎรต้องขออนุญาตนำไม้เคลื่อนที่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน  ( ป่าไม้จังหวัดนั้นๆ ) การนำไม้เคลื่อนที่ที่ต้องขออนุญาต มีดังนี้

   1.  นำไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำหรือเก็บออกจากสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ไปถึงสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตแล้ว

   2.  นำไม้ที่ซื้อมาจากทางราชการไปจากที่ไม้นั้นอยู่ (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๓๘)

         ผู้นำไม้เคลื่อนที่ จะต้องมีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไปด้วย (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๓๙) การขอใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่  ให้ขอที่ป่าไม้จังหวัด พร้อมด้วยบันทึกแสดงชนิด จำนวน ขนาด ปริมาตร และใบเสร็จที่แสดงว่าไม้นี้ ได้เสียค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว
      ในการนำไม้เคลื่อนที่นั้นกฎหมายได้กำหนดห้ามมิให้เคลื่อนที่ ผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลากลางคืน (ตั้งแต่พระอาทิตย์ตก จนถึงพระอาทิตย์ขึ้น) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเป็นหนังสือ (พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา ๔๑)

           ดังนั้น หากไม้สักได้รับอนุญาตให้ทำหรือเก็บ  หรือแปรรูป โดยมีบันทึกระบุชนิด จำนวน ขนาด และปริมาตร และได้เสียค่าธรรมเนียมถูกต้องครบถ้วนแล้ว ก็ต้องแสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบด้วยครับ  แต่ทั้งนี้จะต้องมิได้มีไว้เพื่อจำหน่ายด้วยนะครับ



...เลื่อยโซ่ยนต์นั้นถือว่าเป็นเครื่องจักร ดังนั้นการแปรรูปไม้สักโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ จึงต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.๔๘  แม้ไม้สักที่จะนำมาแปรรูปนั้นได้รับอนุญาตตัด และเคลื่อนย้าย จากพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และไม่ได้ทำเพื่อการค้าก็ตาม
...สรุป ท่าน...chaya... ต้องขออนุญาตแปรรูปไม้ จากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.๔๘ เพราะหากแปรรูปไม้สักโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ โดยไม่ขออนุญาต จะมีความผิด มีโทษ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ม.๗๓ ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โดยจะอ้างว่า ไม้สักนั้นได้รับอนุญาตให้ตัด และขนย้ายอย่างถูกต้อง แต่ไม่รู้ว่าการแปรรูปไม้สักที่ได้รับอนุญาตนั้นต้องขอนุญาตด้วยแต่อย่างใดไม่ได้ เพราะ ...Ignorantia juris non excusat (ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้)

0 ความคิดเห็น: