Ads 468x60px

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผลที่ได้จากการวางแผนชีวิต


http://gotoknow.org/blog/bussayamas7/425714


เนื่องจากที่พ่อบ้านหลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้บวชเป็นพระภิกษุ เป็นเวลา 11 วัน ก็ได้ลาสิกขาบทเพื่อมาใช้ชีวิตในการเป็นเกษตรกรตามเดิม ซึ่งก่อนหน้าที่จะไปรับราชการนั้น ตนเองก็มีอาชีพเกษตรกรรม โดยทำนา ทำไร่ - ทำสวน...เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่แล้ว พ่อบ้านก็ได้ไปสำรวจสวนป่าสักทอง ปรากฎว่า มีต้นสักที่อายุประมาณ 20 ปี ตายพราย (ต้นไม้สักทองที่ยืนต้นตายเพราะถูกลมแรงพัดยอดต้นไม้สักหัก)...ซึ่งถ้าไม่ทำอะไร โดยนำไปใช้ประโยชน์แล้ว ก็จะเป็นอาหารของ "ปลวก" เสียเปล่า...จึงได้จัดการจ้างเลื่อยยนต์ แปรรูป เพื่อนำมาใช้สอยปรับปรุงห้องครัวและห้องน้ำให้กับบ้านหลังแรกที่ปลูกไว้ที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

            ในการที่จะดำเนินการแปรรูปไม้สักทองในสวนป่า ฯ นั้น  ต้องนำทะเบียนสวนป่า ฯลฯ...ไปขออนุญาตจาก "กรมป่าไม้" (เดิม)...โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อเป็นการกระทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย...

 

  


โรงเก็บไม้สักทอง ซึ่งได้ทำการแปรรูป จำนวน 1 ยกครึ่ง...

ถ้าคิดเป็นเงินค่าจ้างแปรรูป ยกละ 1,400 บาท

1 ยกครึ่ง เป็นเงินค่าจ้างเลื่อยแปรรูป = 2,100 บาท

มูลค่าปัจจุบัน ของไม้สักทองยกละ 14,000 บาท

รวมเป็นมูลค่าของไม้สักทอง จำนวน 21,000 บาท

 

 

 ให้สังเกตเนื้อไม้สักทองนะค่ะว่า...จะมีสีเหลือง

ไม่เหมือนกับไม้สักหินหรือไม้สักประเภทอื่น...

ซึ่งเนื้อไม้จะไม่สวยเรียบ + เหลืองเหมือนกับไม้สักทองค่ะ...

 

 

 พ่อบ้านบอกว่า...แม้แต่ขี้เลื่อยของไม้สักทองยังมีกลิ่นหอมเลยค่ะ...

 

 

 

 

ตอไม้สักทอง ที่ใช้ฆ้อนตราประจำสวนสักตอก

แสดงหมายเลขของสวนป่าของผู้เขียนเท่านั้น...

 

 

ต้นสักทองต้นนี้ ตายพราย (ยืนต้นตาย)...ถ้าไม่จัดการในเวลา

อันสมควร ก็จะถูกปลวกขึ้นไปทำรังอาศัย ทำให้เสียเนื้อไม้...

ซึ่งพ่อของผู้เขียนให้ผู้เขียนเลื่อยตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว...

แต่ติดที่พ่อบ้านกับผู้เขียนยังต้องทำงานรับราชการอยู่...

เมื่อพ่อบ้านเกษียณมีเวลาแล้ว จึงดำเนินการ...แต่ก็ไม่ทันปลวก

หรอกค่ะ...จึงเป็นภาพอย่างที่เห็นว่า..."เอาไม้ทันการณ์เสียแล้ว"...

แต่ก็ยังนำไปทำไม้ระแนง หรือประดิษฐ์เป็นอย่างอื่นได้ค่ะ...

 

 

ปีกไม้สักทอง ที่สามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้...

สำหรับเลข 2/1 หมายความว่า...ต้นที่สอง ท่อนที่หนึ่ง...

 

 

ปีกไม้ ต้นที่สาม ท่อนที่สาม...

 

 

ตอไม้สักทองต้นที่ 1...การนับอายุไม้ให้นับจากเส้นวง..

1 ปี ไม้สักทองจะผลิตตนเองได้ 1 วง...

ข้อสังเกต : ถ้าวงใหญ่ปีนั้นฝนจะตกมาก ทำให้อาหารอุดมสมบูรณ์

จึงทำให้ต้นไม้ผลิตวงได้ใหญ่กว่าวงอื่น...

ถ้าวงเล็กกว่า ก็แสดงว่าปีนั้นฝนตกน้อย...แล้ง...

ต้นสักทองผลิตวงได้น้อยกว่าวงใหญ่...

สำหรับต้นนี้...พ่อบ้านนับได้ 20 วง = 20 ปี ค่ะ...

 

 

ต้นสักทอง ต้นที่ 2...การตัดไม้ในแต่ละครั้ง ต้องแสดงเครื่องหมาย

จำนวนต้นที่ตัดไว้บนตอไม้สักทองด้วย...

 

 

ปีกไม้สักทอง...

 

 

ต้นสักทอง ต้นที่ 3...ซึ่งการตัดในครั้งนี้ ผู้เขียนได้ตัดจำนวน 3 ต้น

เพราะถ้าไม่ตัด ก็จะถูกปลวกไปทำรังอาศัย ทำให้เสียเนื้อไม้

ไปโดยเปล่าประโยชน์...แต่ในทางตรงกันข้าม  ปลวกจะนำเนื้อไม้

ไปทำอาหารไว้ในจอมปลวก ใต้ต้นสักทอง...เมื่อถึงยามอากาศ

ร้อนอบอ้าวและชื้น... ก็จะเกิดเห็ดโคนขึ้นมา

ตามธรรมชาติ...ซึ่งสามารถนำไปทำอาหารรับประทานได้...

 

 

ปลายไม้สักทอง...สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก...

 

 

ปีกไม้สักทอง  ต้นที่สอง  ท่อนที่ 2...

 

 

ปีกไม้สักทอง  ต้นที่สอง  ท่อนที่หนึ่ง...

 

 

เมื่อต้นสักทองได้ถูกนำไปแปรรูปแล้ว...ผู้เขียนก็ปลูกต้นยางนา

ทดแทนต้นสักทองในบริเวณเดียวกัน...

 

 

ต้นยางนาจะโตขึ้นมาทดแทนต้นสักทองที่ตายพรายและนำไปใช้

ประโยชน์แล้ว...

 

 

 

 

การคิดคำนวณจากการเลื่อยไม้แปรรูป จากช่างเลื่อยไม้...

ซึ่งมีความรู้น้อย...แต่เขาสามารถคิดคำนวณการเลื่อยไม้แปรรูปได้

อย่างที่คนมีความรู้มากกว่า...คาดไม้ถึงเลยค่ะ...

 

 

หนังสือแบบแจ้งการตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า...

ที่ผู้เขียนต้องไปทำการขออนุญาตตัดก่อนที่จะดำเนินตัดค่ะ...

 

 

พ่อบ้านเป็นผู้ไปแจ้งขออนุญาตตัดค่ะ...

เมื่อดำเนินการตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องแจ้งและรายงาน

ให้เจ้าหน้าที่ทราบด้วยค่ะ...

 

 

กระบวนการตัดไม้สักทองเพื่อแปรรูปทั้งหมด เป็นการดำเนินการ

ที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน...

 

"คนเราเกิดมา เมื่อมีกฎหมายให้ปฏิบัติ  เราก็ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง

เพราะกฎหมายเป็นกฎ กติกาทางสังคม  ที่เราจำเป็นต้องปฏิบัติ

ให้ถูกต้อง ร่วมกัน"...

 

 

0 ความคิดเห็น: